ประวัติคณะที่ปรึกษา (RESUME)
ผศ.ดร. อภิชาติ สนธิสมบัติ
คุณ อำนาจ พัฒน์ทอง
คุณ สมชิต เรืองรักเรียน
คุณ วิศัลย์ ณ ระนอง
คุณ ประภาส พัฒนอมร
คุณ ปิยะพงษ์ อัศวศุภฤกษ์
คุณ วิระ อาชีวปริสุทธิ
คุณ ฐิติกร รักไทย (Webmaster)
คุณ ชิโนทัย พรหมหิตาทร
คุณ ธำรงค์ รักษาบุญ (Designer)
อาจารย์ กุลธวัช เจริญผล (Art Designer)
อาจารย์เอ คณะศิลปกรรม มทรธ. (Art Designer)

ขอเชิญฟังเสียง ดร.อภิชาติ ในการให้สัมภาษณ์ รายการ SMEs TODAY FM 101MHz วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2549 เวลา 12.15-12.30 น. ที่นี่ครับ (wav file)

------------------------------

สัมภาษณ์ ผศ.ดร.อภิชาติ เรื่อง โครงการ ITAP สวทช. และเรื่อง การพัฒนาการย้อมในชนบท แนวทาง และอนาคต ที่นี่ครับ

-------------------------
หนังสือกระบวนการทางเคมีสิ่งทอ
เล่มนี้เหมาะ สำหรับ ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ ช่างเทคนิค และผู้ที่สนใจ สนใจติดต่อ ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ โทรสาร 0 2549 3665

----------------------------------

ท่านสามารถดูตารางธาตุได้ที่นี่ โดยท่านสามารถ ทราบค่าต่างๆได้ อาทิ เป็นธาตุตัวที่เท่าไร ค่าโมเลกุล ความทนต่ออุณหภูมิ ฯลฯ

 

Lesson (Page 4)

e-learning in Textile Chemistry

---------------------------------------

คำถามน่าสนใจเกี่ยวกับเส้นใย แต่เสียดายต้องตอบ ภายในไม่ถึง 5 ชั่วโมง

(Fax มาช่วงเกือบเที่ยง ต้องตอบภายใน 5 โมงเย็น) ดังนี้ครับ

http://www.ttcexpert.com/questions.pdf
--------------------------------

ตัวอย่าง Presentation Functional Textiles --> Click Here

ดาวน์โหลดไปแล้ว เห็นว่าเนื้อหาดี ก็ขอให้ช่วยกันซื้อ ตำราบ้างครับ (PLEASE)

----------------------------------

หนังสือเล่มใหม่ล่าสุด

การนำเอานาโนเทคโนโลยีมาใช้กับงานสิ่งทอ + เทคโนโลยีพลาสมา และเทคโนโลยีอื่นๆ

พิมพ์ภาพสี ราคาเล่มละ 250 บาท

กำหนดออกจำหน่าย

ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2549

สนใจติดต่อ ดร.อภิชาติ

--------------------------

1

ผลงานของ ผศ.ดร.อภิชาติ กับโครงการ iTAP สวทช.

บริษัท คาร์เปท เมกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด |

หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ 23 พ.ย. 2549

--------------------------------------------------

KM | PAGE 1 | PAGE 2 | PAGE 3 | PAGE 4

ความหมายของการตกแต่งเชิงกล และเชิงเคมี
คำนิยาม การตกแต่งเชิงกล และเชิงเคมี หมายถึงเทอมที่ครอบคลุมการทำให้ผ้าเกิดผิวสัมผัสที่ต้องการ เช่น การขัดมัน การอัดดอก การตะกุยขน การเมอร์เซอร์ไรซ์ การแซนโฟไรซ์ เป็นต้น การตกแต่งบางอย่างทำให้เกิดความมันเงา บางอย่างทำให้เกิดความด้าน (ไม่มันเงา) การตกแต่งพิเศษบางอย่างทำให้ผ้าป้องกันรอยยับ คืนตัวเมื่อยับ ทนน้ำ ทนไฟ เป็นต้น สำหรับการตกแต่งนั้นส่วนใหญ่จะกระทำช่วงผืนผ้า การตกแต่งทำให้เกิดลักษณะที่พึงประสงค์บนผ้า

กระบวนการตกแต่งสามารถทำกับผ้าทอ ผ้าถัก และผ้าไม่ทอก็ได้ ซึ่งการตกแต่งดังกล่าวประกอบด้วยวิธีการตกแต่งหลายประเภท และหลายกระบวนการ เพื่อทำให้ผ้านั้นมีสมบัติในแง่ของความสวยงาม หรือลักษณะการใช้งานที่ดีขึ้น การตกแต่งบางอย่างทำให้สมบัติการมองเห็นดีขึ้น บางอย่างปรับปรุงพฤติกรรมของผ้านั้น และบางอย่างสามารถทำได้ทั้งสองลักษณะพร้อมๆ กัน

การจำแนกกระบวนการตกแต่ง

การตกแต่งสามารถแบ่งได้หลายประเภทตามหลักการหลายๆ อย่าง บางการตกแต่งจะเป็นการนำผ้ามาตกแต่งก่อนการย้อม หรือบางครั้งกระทำหลังการย้อม บางครั้งอาจเน้นด้านการเตรียมวัสดุมากกว่าการตกแต่งจริงๆ เสียอีก การตกแต่งบางประเภทใช้กลไกเชิงกลมาตกแต่งผ้า เช่น การทำให้หดตัวอย่างสมบูรณ์ การรีดมัน เป็นต้น ในขณะที่บางประเภทใช้สารเคมีมาทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีทำให้ผ้ามีสมบัติที่แตกต่างกัน เช่น นุ่มนวล แข็งกระด้าง ทนไฟ ทนน้ำ เป็นต้น สำหรับกระบวนการตกแต่งที่ใช้สารเคมีนั้นอาจจะเคลือบเฉพาะผิวหน้าของผ้าเท่านั้น หรือบางประเภทเกิดพันธะทางเคมีกับเส้นใยก็ได้
ดังนั้นเราอาจจะสรุปได้ว่าเราสามารถแยกกระบวนการตกแต่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ (ตามกลไกการทำงานของการตกแต่ง)
1. การตกแต่งเชิงกล (Mechanical Finishing)

2. การตกแต่งเชิงเคมี (Chemical Finishing)

การตกแต่งอาจจะถูกจำแนกเป็นการตกแต่งถาวร (Permanent Finishing) การตกแต่งคงทน (Durable Finishing) และการตกแต่งชั่วคราว (Temporary Finishing) ก็ได้ เนื่องจากในบางครั้ง ท่านอาจพบว่าเมื่อซื้อเสื้อเชิ้ตใหม่ๆ จากห้างสรรพสินค้าชื่อดังมา แรกๆ ผิวหน้าผ้าเรียบ มันเงา แต่พอซักผ้าไปเรื่อยๆ ก็พบว่ามีขนเล็กๆ โผล่มาจากผิวผ้ามากมาย นั่นแสดงว่าการตกแต่งเป็นประเภทชั่วคราวเท่านั้น
1. การตกแต่งถาวร หมายถึง การตกแต่งที่คงทนอยู่ตลอดอายุการใช้งานของผ้า หรือวัสดุนั้น
2. การตกแต่งคงทน หมายถึง การตกแต่งที่คงทนอยู่เกือบอายุการใช้งานของวัสดุนั้น และ
3. การตกแต่งชั่วคราว หมายถึง การตกแต่งที่คงทนอยู่เพียงการซักล้างหนึ่งหรือมากกว่า หรือการซักแห้งได้ไม่กี่ครั้ง
การตกแต่งบางชนิดสามารถทำให้เกิดการตกแต่งถาวรโดยการนำเอาสมบัติการเป็นเทอร์โมพลาสติก ของเส้นใยมาใช้ เมื่อผ้าใยสังเคราะห์ถูกความร้อนก็จะเซ็ตตัวด้วยความร้อนทำให้มีลักษณะที่ต้องการ เช่น การอัดกระโปรงจีบรอบตัว (Pleat) ซึ่งนิยมในสมัยหนึ่งเมื่อเกือบ 10-20 ปีที่แล้ว เป็นต้น
ในชุดแบบเรียนนี้จะจำแนกตามกลไกการทำงานของการตกแต่ง เพื่อสะดวกในการอธิบายต่อไป
การตกแต่งเชิงกล และเชิงเคมีเชิงกล (Mechanical Finishing)

           

นิยาม การตกแต่งที่ได้รับจากกระบวนการทางเชิงกล โดยกระบวนการต่างๆ เช่น กระบวนการขัดมัน อัดดอก ฯลฯ ซึ่งแตกต่างจากกระบวนการตกแต่งเชิงเคมี

การตกแต่งเชิงเคมี (Chemical Finishing)

นิยาม การตกแต่งที่ได้รับจากการใช้สารเคมี เช่น สารทำให้นุ่ม สารกันน้ำ สารกันไฟ สารกันแมลงกัดกินผ้า เป็นต้น เพื่อทำให้ได้รับลักษณะที่พึงประสงค์

อย่างไรก็ตามการตกแต่งเชิงเคมีนี้อาจต้องใช้ความร้อนสูงทำให้สารเคมีเกิดปฏิกริยาทางเคมียึดเหนี่ยวกับเส้นใย ดังนั้นการตกแต่งชนิดนี้จัดเป็นการตกแต่งคงทนได้

กระบวนการตกแต่งเชิงเคมี        โดยทั่วไปแล้วจะใช้วิธีการบีบอัด (Pad) ทำให้แห้ง (Drying) และการทำให้เกิดปฏิกิริยาด้วยความร้อน (Curing)

แสดงไดอะแกรมการทำงานของส่วนต่างๆ ในกระบวนการตกแต่งเชิงเคมี การทำงานของกระบวนการบีบอัด-ทำให้แห้ง-ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีด้วยความร้อน (Pad-Dry-Cure) คือ เริ่มต้นผ้าจะถูกจุ่มในอ่างสารตกแต่ง แล้วผ่านลูกกลิ้งบีบอัดจำนวน 2 ลูก ที่จะบีบให้ผ้าเก็บน้ำสารเคมีได้เท่าใดตามต้องการ (เรียกว่าเปอร์เซ็นต์พิ๊กอัพ) จากนั้นเข้าตู้อบแห้งด้วยความร้อนไม่สูงนัก เพื่อทำให้สารเคมีที่ติดบนผืนผ้าสม่ำเสมอ ไม่เคลื่อนตัวก่อน แล้วจึงนำเข้าตู้อบแห้งด้วยความร้อนสูงทำให้สารตกแต่งเกิดปฏิกิริยาสร้างพันธะกับตัวมันเอง หรือสร้างพันธะยึดเหนี่ยวกับเส้นใยทำให้การตกแต่งมีความคงทนต่อการซักล้างดีขึ้น

ทำไมต้องใช้วิธีบีบอัด? เพราะเป็นกระบวนการที่ง่าย ไม่ซับซ้อน แต่เป็นการประหยัดพลังงานความร้อน และสารเคมี แม้กระทั่งน้ำที่ใช้จะปริมาณต่ำมาก เมื่อผ้าเก็บน้ำสารเคมีได้ไม่มาก จะทำให้ประหยัดเวลาในการอบแห้ง และทำปฏิกิริยา
เนื่องจากกระบวนการบีบอัดยังใช้น้ำจำนวนมาก ประมาณ 30 ปีที่ผ่านมามีผู้คิดค้นเกี่ยวกับการใช้    พิ๊กอัพขณะเปียกน้อย (Low-wet-pick-up Techniques) เช่น
1. การใช้วิธีเคลือบผิวหน้าด้วยลูกกลิ้งที่มีรูพรุนหรือเคลือบด้วยเส้นใย ดังนั้นจึงสามารถพาน้ำสารเคมีได้น้อยกว่าวิธีปกติ
2. การใช้ระบบสูญญากาศในการดูดน้ำส่วนเกินออกจากผ้าที่บีบอัดด้วยวิธีปกติ
3. การใช้การบีบอัดโดยใช้ลูกกลิ้ง และสายพานพาน้ำสารเคมีมาสัมผัสผ้าด้านบน
4. การใช้วิธีสัมผัสหน้าของลูกกลิ้งเท่านั้น โดยคิซโรลเลอร์ (Kiss Roller)
5. การสเปรย์สารเคมีบนผ้า
6. การแกะสลักลูกกลิ้งเพื่อให้ลูกกลิ้งเก็บน้ำสารเคมีได้จำนวนคงที่ เพื่อมาสัมผัสกับผ้าทำให้ผ้าเปียก ฯลฯ
ต่อจากนั้นเป็นการใช้โฟม (Foam Finishing Techniques) การเกิดโฟมได้โดยการผสมอากาศ เข้าไปในน้ำสารเคมี แล้วนำโฟมนั้นมาใช้บนผิวหน้าของผ้า เช่น
7. การใช้ใบมีดปาดเหนือลูกกลิ้ง
8. การใช้ลูกกลิ้งสองลูกบีบอัดตามแนวนอน
9. การผ่านโดยใช้ลูกกลิ้งนำโฟมมาติดบนผ้า
10. การใช้เครื่องมือเคลือบผิวหน้าผ้าทั้งสองด้าน (ทีละครั้ง)
11. การใช้โรตารี่สกรีน
12. พิมพ์บนผ้า


การทำให้แห้ง

การทำให้วัสดุ หรือผ้าแห้งในกระบวนการอาจทำอย่างน้อยหนึ่งครั้ง หรือมากกว่าหนึ่งก็ได้ในกระบวนการเตรียม การย้อม การพิมพ์ หรือการตกแต่ง การทำให้วัสดุแห้งเป็นการสิ้นเปลืองเวลา และพลังงานมาก ดังนั้นในกระบวนการเคมีสิ่งทอแล้วมักจะคำนึงถึงการทำให้แห้ง ก่อนทำให้แห้งอาจจะบีบอัด กำจัดน้ำส่วนเกินออกไป การใช้สูญญากาศ การใช้เครื่องสลัดน้ำ ฯลฯ ทำให้น้ำเหลือน้อยที่สุดในวัสดุ

กระบวนการทำให้แห้ง มีหลายแบบ เช่น การนำเอาลูกกลิ้งร้อนสัมผัสกับผ้า (คล้ายๆ กับรีดผ้า ทำให้ผ้าแห้ง และเรียบ) หรือการนำเอาลมร้อนมาเป่าให้ผ้าแห้ง หรืออาจใช้ไอน้ำแห้งมาเป่าให้ผ้าแห้ง เป็นต้น ข้อเสียของการนำเอาลูกกลิ้งร้อนสัมผัสกับผ้าคือ ถ้าผ้ามีขนจะทำให้ขนลีบ และถ้าผ้าผ่านการย้อมแล้วมีสีเหลือมากอาจติดลูกกลิ้งทำให้เมื่อเดินผ้าล็อตใหม่ที่มีสีอ่อนๆ อาจเปื้อนได้
ในการทำให้ผ้าแห้งปัจจุบันอาจใช้คลื่นวิทยุที่มีความถี่พอเหมาะทำให้โมเลกุลของน้ำที่อยู่ในผ้าสั่นสะเทือน อย่างรุนแรงจนเกิดความร้อนแล้วระเหยตัวออกไปเองก็ได้ ซึ่งวิธีนี้จะเร็วกว่าวิธีปกติ ประหยัดพลังงานมาก มีความคล่องตัวในการใช้งานสูง
            ในเครื่องสเต็นเตอร์จะใช้ลมร้อนเป่า ซึ่งลมร้อนนั้นจะทำให้ผ้าแห้ง และปราศจากรอยยับ เนื่องจากมีแรงดึงตามแนวด้ายพุ่งจากเข็ม หรือตัวหนีบผ้า ผ้าจะถูกปรับให้ด้ายพุ่งและด้ายยืนตั้งฉากกัน เพื่อที่จะทำให้เวลาช่างตัดเสื้อตัดผ้าแล้วเย็บเสร็จ เสื้อผ้าที่ได้ไม่บิดเบี้ยว หรือหดตัวเสียรูปทรงนั่นเอง ดังนั้นเครื่องสเต็นเตอร์จะต้องควบคุมและดูแลอย่างระมัดระวังมากเป็นพิเศษ หลังจากผ่านเครื่องสเต็นเตอร์ผ้าจะมีขนาดหน้ากว้าง และความยาวที่เหมาะสมตามต้องการ (ขึ้นกับขนาดหน้ากว้างและความยาวของตัวผ้าเริ่มต้นด้วย เครื่องสเต็นเตอร์ดึงหน้าผ้าได้ไม่มากนัก หากดึงมากเกินไปผ้าอาจขาดกลางได้)

ตัวอย่างที่เห็นกันบ่อยๆ คือ ผ้าที่ผ่านจากเครื่องนี้จะมีรูเข็มเล็กๆ เรียงรายตามริมผ้านั่นเอง ครั้งหน้าถ้าซื้อผ้าลองสังเกตดูเกือบทุกผืนจะมีรอยเข็มริมผ้าอยู่

 

ที่มาจาก หนังสือกระบวนการทางเคมีสิ่งทอ ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ

------------------------------------------------------

KM | PAGE 1 | PAGE 2 | PAGE 3 | PAGE 4

วีดีโอซีดี เรื่อง "นาโนเทคโนโลยีสำหรับงานสิ่งทอ" เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง "การทำความสะอาดสิ่งทอ" การจัดทำกิจกรรม 5ส และการจัดทำระบบคุณภาพ ISO 9001:2000

ผลงาน ผศ.ศุภวิทย์ ลวณะสกล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เรื่อง แก๊สซิไฟเออร์ คลิ๊กดู VDO ที่นี่ครับ (พลังงานทดแทนน้ำมัน!!!)

ท่านผู้อ่านสามารถโหวตแสดงความพึงพอใจ กับเว็บไซต์ของเราได้ที่นี่ครับ ขอบคุณครับ

 

  หนังสือรวมสุดยอดเว็บไซต์สิ่งทอทั่วโลก Hot Textile Websites เล่มใหม่ เหมาะสำหรับ ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ นักศึกษา ผู้สนใจด้านสิ่งทอ ราคา 150 บาท สนใจติดต่อ...คุณสว่างจิตต์ หรือคุณกนกวรรณ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ โทร. 0 2713 5492-9

โครงการความร่วมมือในอนาคต

เร็วๆ นี้จะมีข่าวดีสำหรับโครงการความร่วมมือครับ ระหว่างมหาวิทยาลัย Leeds ประเทศอังกฤษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ โครงการ ITAP สวทช. ประเทศไทย อดใจรอสักนิดครับ

 

ดูรายชื่อหนังสือทั้งหมด (30 เล่ม) ที่นี่ครับ

ประมวล ภาพที่ 1 าพที่ 2

การสัมมนา เรื่อง สุดยอดการจัดการสิ่งทอ : เทคโนโลยีสะอาด ทำกำไรได้จริงหรือ? ในวันที่ 26-27 พ.ค. 2548 ถ้าท่านต้องการหนังสือประกอบการสัมมนา สามารถติดต่อได้ที่ อ.อภิชาติ ครับ

--------------------------------

Interview with Dr. Apichart

บทสัมภาษณ์ ดร.อภิชาติ

คลิ๊กที่นี่ครับ

--------------------------------

Blog ที่นี่ครับ หากท่านต้องการจะโพสต์ข้อมูลที่นี่

ผลงานของ ผศ.ดร.อภิชาติ

บทสัมภาษณ์รายการ "ความรู้สู่ชุมชน" วิทยุเพื่อการศึกษา FM 92 MHz วันที่ 30 มิ.ย. 2548 เวลา 13.30-14.30 น.คลิ๊กที่นี่ (22 Minutes)

เครื่องย้อมพลังงานแสงอาทิตย์ (งานวิจัย) จากหนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 11 สิงหาคม 2548 และจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 26 สิงหาคม 2548 คลิ๊กที่นี่ ชมวีดีโอคลิป จากรายการรู้รักษ์พลังงาน สถานีโทรทัศน์ไอทีวี วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2548 Movie Here

เครื่องผลิตโฟม สำหรับการย้อมที่ใช้น้ำกว่าปกติ (งานวิจัย) ชมวีดิโอคลิป จากรายการรู้รักษ์พลังงาน สถานีโทรทัศน์ไอทีวี วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2548 Movie Here

บทสัมภาษณ์คุณสุนทร ไกรตระกูล กรรมการผู้จัดการบริษัท คาร์เปท เมกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ที่ได้รับคำปรึกษาจาก ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ ภายใต้โครงการ ITAP สวทช. คลิ๊กที่นี่

ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์ การบรรยายเรื่อง "นาโนเทคโนโลยีกับงานสิ่งทอ" Nanotechnology in Textiles V.4.00 ฟรี!

คลิ๊กที่นี่ครับ

----------------------------------

สนใจอยากให้คณะที่ปรึกษา ttcexpert.com เข้าช่วยเหลือธุรกิจ ของท่าน ttcexpert.com สามารถติดต่อได้ที่นี่ โทร. 0 2549 3666 หรือ โทรสาร 0 2549 3665 ครับหรืออยากทำโครงการ... ติดต่อโครงการ ITAP สวทช. ที่ คุณวรรณรพี โทร. 0 2564 7000 ต่อ 1379

 

เขียนติชมได้ที่นี่ครับ! Guest Book

สนใจติดต่อโฆษณาได้ที่

eng_pub@hotmail.com

ค่าสปอนเซอร์เหล่านี้จะนำมาปรับปรุงเว็บ ให้บริการได้ดีกว่านี้ครับ ขอบคุณครับ

จากใจ ผศ.ดร.อภิชาติ

Asking for your helps, please.

เนื่องจากเว็บไซต์นี้เปิดบริการฟรี ให้กับพวกท่านมาเป็นเวลาเกือบ 4 ปี ถ้าหากท่านต้องการ จะสนับสนุนผม ให้สามารถทำงาน เพื่อสังคม มากกว่านี้ เช่น ช่วยเหลือให้สามารถจัดการสอนออนไลน์ ซื้อหนังสือ ตำราจากต่างประเทศให้ หรือหาผู้ช่วย ในการทำอีเลิร์นนิ่งให้ดีกว่านี้ เป็นต้น เพื่อเราจะร่วมกันทำเว็บนี้ ให้เป็นแหล่งความรู้ ที่ดีแห่งหนึ่ง ให้กับนักศึกษา พนักงาน ครูอาจารย์ และผู้สนใจต่อไปครับ

ขอบพระคุณที่ช่วยสนับสนุนครับ

ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ

ขณะนี้ยังไม่ค่อยมีสปอนเซอร์มาติดต่อเลยนะครับ ขอความช่วยเหลือจากท่านบ้าง ผมต้องเข้ามาตอบตลอด มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นนะครับ อย่างน้อยช่วยซื้อหนังสือบ้างก็ยังดีครับ

ขอบพระคุณในความเห็นใจของทุกท่านครับ

ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ

29-10-48

 

รายชื่อหนังสือใหม่ล่าสุด

- การปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในโรงงาน เล่ม 2 ราคา 300 บาท (หนาประมาณ 300 กว่าหน้าครับ) **

- เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ต เสร็จแล้วครับ ราคา 60 บาท (พิมพ์สี)**

สนใจติดต่อได้ที่ ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ (**ค่าส่งลงทะเบียนอีกประมาณ 20 บาทต่อเล่มครับ)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อยากให้เว็บนี้มีอะไรเพิ่มเติม...กรุณาส่งอีเมล์ หรือโทรมาบอกได้ครับ เราจะพัฒนาไปเรื่อยๆ ให้ดีที่สุดครับ

WEBSTAT for ttcexpert.com

Last updated on 21-08-16

ติดต่อสอบถาม โทร. 0 2549 3666 หรือ โทรสาร 0 2549 3665 หรือที่... e-mail: eng_pub@hotmail.com, en@rmut.ac.th

Assistant Professor Dr. Apichart Sonthisombat

Department of Textile Engineering, Faculty of Engineering, Rajamangala University of Technology Thanyaburi (RMUTT),

Rungsit-Nakornnayok Road, Klong 6. Thanyaburi, Pathumthani, 12110 THAILAND

 

หมายเหตุ ความคิดเห็นที่ปรากฎในเว็บไซต์หรือเว็บบอร์ดนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว ของผู้เขียนมิได้เป็นความเห็นชอบของคณะวิศวกรรมศาสตร์ หรือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี แต่อย่างใด