ประวัติคณะที่ปรึกษา (RESUME)
ผศ.ดร. อภิชาติ สนธิสมบัติ
คุณ อำนาจ พัฒน์ทอง
คุณ สมชิต เรืองรักเรียน
คุณ วิศัลย์ ณ ระนอง
คุณ ประภาส พัฒนอมร
คุณ ปิยะพงษ์ อัศวศุภฤกษ์
คุณ วิระ อาชีวปริสุทธิ
คุณ ฐิติกร รักไทย (Webmaster)
คุณ ชิโนทัย พรหมหิตาทร
คุณ ธำรงค์ รักษาบุญ (Designer)
อาจารย์ กุลธวัช เจริญผล (Art Designer)
อาจารย์เอ คณะศิลปกรรม มทรธ. (Art Designer)

ขอเชิญฟังเสียง ดร.อภิชาติ ในการให้สัมภาษณ์ รายการ SMEs TODAY FM 101MHz วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2549 เวลา 12.15-12.30 น. ที่นี่ครับ (wav file)

------------------------------

สัมภาษณ์ ผศ.ดร.อภิชาติ เรื่อง โครงการ ITAP สวทช. และเรื่อง การพัฒนาการย้อมในชนบท แนวทาง และอนาคต ที่นี่ครับ

-------------------------
หนังสือกระบวนการทางเคมีสิ่งทอ
เล่มนี้เหมาะ สำหรับ ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ ช่างเทคนิค และผู้ที่สนใจ 240 บาทเท่านั้น พิเศษสำหรับนักเรียน-นักศึกษา ลดเหลือ 200 บาทต่อเล่ม (หมายเหตุ กรุณาถ่ายบัตรประจำตัวนักเรียน หรือนักศึกษามาแนบด้วย) สำหรับบุคคลธรรมดา ราคา 240 บาท สนใจติดต่อ ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ โทรสาร 0 2549 3665

----------------------------------

ท่านสามารถดูตารางธาตุได้ที่นี่ โดยท่านสามารถ ทราบค่าต่างๆได้ อาทิ เป็นธาตุตัวที่เท่าไร ค่าโมเลกุล ความทนต่ออุณหภูมิ ฯลฯ

 

บทสัมภาษณ์พิเศษของ ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ

(ครั้ังที่ 1 ปลายปี พ.ศ. 2545)



ถาม: ขอให้ ดร.อภิชาติ ช่วยเล่าประวัติอย่างย่อๆ ให้สมาชิกทราบหน่อยค่ะ ว่า ดร. เรียนที่ไหนมาบ้างค่ะ

ตอบ: ก่อนอื่นต้องขอสวัสดีท่านสมาชิกทุกท่านครับ ผมเป็นคนกรุงเทพฯ คุณแม่อยู่ที่พระโขนง ส่วนคุณพ่ออยู่ยานนาวาครับ แต่เดี๋ยวนี้เป็นสาธร แล้วก็สาทรครับ ตอนเด็กๆ ก็เรียนอยู่ที่โรงเรียนเปรมฤดีศึกษา ซอยวัดไผ่เงิน ตั้งแต่ ประถมศึกษาปีที่ 1-6 ต่อจากนั้นสอบเข้าโรงเรียนวัดสุทธิวราราม ก่อนสอบคุณพ่อก็เสียชีวิตครับ เรา…หมายถึงคุณแม่ ผม และน้องสาว ก็ไม่ค่อยมีเงินหรอกครับ ดังนั้นผมจึงตัดสินใจสอบเข้าโรงเรียนวัดครับ ผมไม่อายที่ผมจะบอกว่าผมมาจากไหนครับ เราไม่ใช่มีเงินมีทองซักเท่าไหร่ ตอนนั้นค่าเล่าเรียนเทอมละ 300 บาทครับ มีน้าชาย (คุณสุพงษ์ อรัญฤทธิ์) กับลุง (คุณอนันต์ อรัญฤทธิ์) คอยส่งเงินให้เรียนครับ น้าชายผมบอกว่าตัวแกเรียนน้อย แต่ถ้าผมเรียนได้สูง อีกหน่อยก็ได้มีโอกาสช่วยเหลือญาติๆ บ้างครับ
ผมเรียนที่โรงเรียนวัดสุทธิวราราม เลขประจำตัว สธ 18734 ตั้งแต่มัธยมปีที่ 1-6 ครับ (เผอิญผมเป็นรุ่นแรกของประเทศไทยที่เปลี่ยนจากเรียนประถมปีที่ 7 แล้วต่อมัธยมศึกษาปีที่ 1 ครับ) ได้ความรู้มากๆ เพราะอาจารย์ที่เคยสอนนั้นตั้งใจสอนนักเรียนอย่างมากครับ ไม่เคยท้อแท้ท้อถอย มุ่งมั่นให้เราสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ผมสำนึกในบุญคุณของโรงเรียนทั้งสองแห่งนี้มากครับ

ถาม: เอ…ได้ทราบว่า ดร. มาเรียนที่วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ ตอนไหนค่ะ

ตอบ: หลังจากที่จบมัธยมปีที่ 6 ผมก็สอบเอนทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัยครับ แต่ตอนนั้นไม่ทราบเลือกคะแนนสูงมากหรืออย่างไรไม่ทราบ ก็เลยไปติดอันดับ…ที่แผนกเคมีสิ่งทอ คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ ก่อนนั้นยังเป็นวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ครับก่อนจะมาเป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เรียนหน่วยกิตน้องๆ มหาวิทยาลัยครับ แต่ได้แค่ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปว.ส.) เรียน 3 ปีเต็มๆ ซึ่งผมก็ไม่เกี่ยงเท่าไหร่ และไม่เคยจะเปลี่ยนไปเรียนที่อื่นๆ ตอนนั้นผมอยู่ในรุ่นที่ 17 ครับ เรามาเพื่อนๆ กันมากพอสมควร 20 กว่าคน มีผู้หญิง 3 คนครับ ที่นี่เองครับเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตของผมอย่างมาก เพราะผมคิดว่าเราไม่มีเงิน ดังนั้นรีบเรียนให้จบจะได้ทำงาน เพื่อช่วยเหลือคุณแม่ เพราะผมยังมีน้องสาวอีกหนึ่งคนครับ ที่นี่ผมตอบกราบขอบพระคุณ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) อัจฉราพร ไศละสูต ที่ท่านเป็นผู้ก่อตั้งแผนกนี้ขึ้นมา ซึ่งเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยในสมัยนั้น โดยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของท่าน
อย่างไรก็ตาม คณาจารย์ที่สอนผมในขณะนั้น ทุกท่าน มีความมุ่งมั่น และตั้งใจสอนวิชาชีพ ที่ทำให้ผมมีความรู้พื้นฐานมาจนถึงทุกวันนี้ และขอกระซิบนิดหนึ่งว่าอาจารย์บางท่านไปเรียนที่อังกฤษ ท่านเอาเนื้อหาของที่ท่านเรียนในระดับปริญญาโท มาสอนให้พวกเรา ผมก็ขอขอบพระคุณท่านเหล่านี้ทุกท่านเป็นอย่างสูงครับ

ถาม: ดร. ค่ะ แล้ว ดร. ไปเรียนปริญญาตรีที่ไหนล่ะค่ะ

ตอบ: ผมจบจากที่วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ ก็มาต่อที่คณะวิศวกรรมเทคโนโลยี (เดี๋ยวนี้เปลี่ยนเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์) โชคดีสอบได้ครับ ก็เลยเรียนต่อเนื่องเลย ไม่ได้หยุด แต่การเรียนระดับปริญญาตรีที่คณะฯ จะต้องเรียนที่วิทยาเขตเทเวศร์ และจะต้องเรียนภาคค่ำ โดยช่วงกลางวันต้องไปทำงาน เรียน 3 ปีครับ ตอนเย็นวันจันทร์-เสาร์ และวันอาทิตย์ทั้งวันครับ ผมได้เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญเงิน ครับ

ถาม: ดร. ค่ะ เหรียญเงิน คืออะไรค่ะ

ตอบ: เหรียญทองคือคนที่เรียนในคณะฯ แล้วได้เกรดเฉลี่ยสูงที่สุด (ที่หนึ่งของคณะฯ) ส่วนผมได้เกรดเฉลี่ยที่สองของคณะฯ ครับ

ถาม: แล้วคนที่ได้เหรียญทองรุ่นอาจารย์คือใครค่ะ

ตอบ: ผมจำไม่ได้แม่นนะครับ แต่เอาเป็นว่าเค้าได้เกรดเฉลี่ย 3.90 (คะแนนรวมทุกเทอม) ส่วนผมได้เกรดเฉลี่ย 3.83 ครับ ตอนนั้นผมโชคดีที่สุดครับ เนื่องจากรุ่นของผมเป็นรุ่นสุดท้ายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเพื่อพระราชทานปริญญาบัตรครั้งสุดท้าย ต่อจากนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ครับ

ถาม: ได้ทราบว่า ดร. มีประสบการณ์ในโรงงานหลายแห่ง อยากจะทราบว่าที่ไหนบ้างค่ะ

ตอบ: ตอนฝึกงานที่วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ ได้ฝึกที่บริษัท สยามนิ้ตแวร์ จำกัด ตอนนั้นยังอยู่ที่แยกลำสาลี ต้นถนนศรีนครินทร์ครับ ได้รับความกรุณาจากพี่ๆ ทุกคนเป็นอย่างดี ในการสอนงานให้ ทำไปทำมาก็เลยได้เข้ากะกลางคืน เพราะช่วยห้องแลปเก็บงานที่ย้อมตัวอย่างไม่เสร็จครับ เมื่อเสร็จการฝึกงานบริษัทได้ให้เงินผมจำนวนหนึ่ง ซึ่งผมดีใจมากเอาไปให้คุณแม่หมดเลยครับ นับว่าเป็นเงินที่ได้จากน้ำพักน้ำแรงครั้งแรกของผมครับ
เมื่อช่วงเรียนที่คณะวิศวกรรมเทคโนโลยี ผมสมัครทำงานที่บริษัท จงสถิตย์ จำกัด เพราะเป็นนโยบายของคณะฯ ให้นักศึกษาทุกคนมีงานทำทุกคน ทำงานย้อมเส้นด้ายประมาณ 2 ปี ต่อจากนั้นผมก็สมัครเป็นลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่ง ครู 2 ระดับ 2 ที่ภาควิชาวิศวกรรมเคมีและสิ่งทอ (ปัจจุบันเป็นภาควิชาวิศวกรรมสิ่งทอ) ที่คณะวิศวกรรมเทคโนโลยี (วิทยาเขตเทเวศร์) ในช่วงนั้นท่านอาจารย์ ชัยยุทธ ช่างสาร (ปัจจุบัน รองศาสตราจารย์ ดร. ชัยยุทธ ช่างสาร) ได้มอบหมายให้ไปสอนที่วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ อยู่ใกล้สนามม้านางเลิ้ง กรุงเทพครับ สอนนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปว.ส.) รุ่นที่ 1 ซึ่งผมภูมิใจมาก เพราะนักศึกษารุ่นนี้เป็นรุ่นที่ตั้งใจ และขยันขันแข็งเป็นอย่างดี ขณะนี้ทำงานเป็นใหญ่เป็นโตในโรงงานอุตสาหกรรมครับ ต่อจากนั้นก็ได้สอนรุ่นที่ 2-3 ก่อนที่ได้รับทุนของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เพื่อเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศครับ
และก็อีกหลายโรงงานที่เข้าไปช่วยปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพครับ

ถาม: ดร. ค่ะ แล้วไปเรียนที่อเมริกา หรืออังกฤษ ล่ะค่ะ

ตอบ: ก่อนผมจะไปเรียนที่อังกฤษ ผมต้องไปเรียนภาษาอังกฤษ (เรียนประมาณ 2-3 ปี) เพื่อสอบ TOEFL ที่โรงเรียนเสริมหลักสูตร เสาชิงช้า (อาจารย์สงวน) เรียนไป 3 คอร์สครับ TOEFL, GRE, VOCABULARY ด้วยเงินตัวเองครับ เรียนทุกวัน ฝึกฝน แล้วก็ไปสอบ TOEFL เรื่อยๆ ประมาณ 6 ครั้ง จึงได้คะแนน 553 ก็สมัครไปที่อเมริกา ผลปรากฏทางมหาวิทยาลัยที่นั่นสุดเขี้ยวลากดิน ต้องการคะแนน 600 ซึ่งไม่ใช่ง่ายๆ ตอนหลังท่านอาจารย์ชัยยุทธ ท่านได้เมตตาติดต่อกับมหาวิทยาลัย Leeds ที่ประเทศอังกฤษ แล้วก็ตอนนั้นรู้สึกว่าโชคดีที่ Dr. Ian Holme ของมหาวิทยาลัยนี้มาประเทศไทย เพื่อพูดเรื่องการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในโรงย้อม ผมก็เลยได้รู้จักกับท่าน แล้วก็ขอสมัครไปเรียนตอนนั้นเองครับ

ถาม: โอ้โห้…นึกว่า ดร. เรียนง่ายๆ แล้วก็ได้ไปเรียนเลยค่ะ ถ้า ดร. ไม่บอกแบบนี้ก็คงไม่ทราบนะค่ะ

ตอบ: ใช่ครับ ใครๆ ที่นึกอิจฉาว่า ไปเรียนแล้วก็ได้ ดร. มาง่ายๆ ไม่ใช่อย่างนั้นนะครับ ลองให้ไปเรียนจริงๆ แล้วจะรู้สึก ไม่ใช่แค่เก่งอย่างเดียว จะรอดนะครับ บางคนเก่งจริง แต่ควบคุมอารมณ์ไม่ได้เกือบเป็นบ้าก็มี

ถาม: หรือค่ะ หนูนึกว่าเรียนเมืองนอกง่ายๆ แค่มีเงินก็ไปชุบตัวก็ได้ค่ะ


ตอบ: ได้ครับ ถ้าไปเรียนมหาวิทยาลัยห้องแถวครับ แต่ที่มหาวิทยาลัย Leeds ผมไปเรียนหลักสูตรปริญญาโท เรียนปีเดียวครับ แต่ก็โหดยิ่งกว่าจะฆ่าให้ตายอย่างไรอย่างนั้นครับ ก็เรียนประมาณ 8 เดือน สอบ May-June Examination ทั้งหมดครั้งเดียว (เก็บคะแนน) มาบอกว่าผ่านไม่ผ่าน หนังสือกองท่วมหัวประมาณ 10 ตั้ง ให้อ่าน วันๆ หนึ่งอยู่ในห้องสมุดตั้งแต่เช้าจรดเย็น บางครั้งถึงค่ำๆ บางทีเหนื่อยมาก ก็หลับอยู่ในห้องสมุดเลยครับ (ห้องสมุดของเค้าเปิดทั้งวันครับ) จะนอนก็นอน จะทำอะไรก็ได้ แถมมีห้องน้ำอยู่ในนั้นเลย อ่านจนอ่วมอรทัย กว่าจะจบได้ครับ

ถาม: เห็นได้ยินมาว่า ดร. ได้เกียรตินิยมอันดับ 1 ที่มหาวิทยาลัย Leeds ด้วยเหรอค่ะ เก่งกว่าฝรั่งอีกเหรอค่ะ


ตอบ: ผมก็ไม่ได้เก่งกาจวิเศษกว่าคนอื่นหรอกครับ เพียงแต่ผมมีความเพียรพยายาม อ่านหนังสือ ทบทวนด้วยตัวเอง หัดทำข้อสอบเก่าๆ ทำทุกวิถีทาง เช่น ตอนแรกๆ ฟังภาษาอังกฤษได้แต่ไม่ชัวร์ ก็ขออัดเทปบันทึกเสียงอาจารย์ผู้สอน อันนี้ผมขอก่อนนะครับ อาจารย์ที่โน้นบางคนไม่ยอม เราก็ไม่อัด เรามีมารยาทครับ ไม่ใช่ไปแอบอัดเทป พอเสียงเทปเด้งดังแต๊ก เค้ารู้เข้าเสียหายครับ
ผมขอแก้ข่าวนิดหนึ่งครับ ไม่ได้เกียรตินิยมอันดับ 1 ครับ นั่นมันอเมริกันครับ ที่อังกฤษถ้าเรียนแล้วได้คะแนนรวม 70 คะแนนขึ้นไป (เต็ม 100 คะแนน) ก็จะได้ with Distinction ครับ คำนี้แปลว่าเกียรตินิยม (มองเห็นความแตกต่างจากคนอื่นได้) ผมได้ก็เพราะอาจารย์ที่ปรึกษาของผมครับ Dr. Peter T. Speakman ครับ ประวัติของท่านก็คือ คุณพ่อท่านเป็น Professor ด้านขนสัตว์ แล้วก็ Dr. Speakman ก็เป็นผู้ช่วยท่านวิจัย จนกระทั่งมีชื่อเสียงด้านขนสัตว์ และใยโปรตีนครับ

ถาม: ระบบของอังกฤษมันตลกดีนะค่ะ หนูนึกว่าเหมือนกับอเมริกาซะอีก แล้วปริญญาเอก ดร. ทำเรื่องเกี่ยวกับอะไรค่ะ

ตอบ: ผมเริ่มทำงานวิจัยด้านไหมไทยในแผนงานปริญญานิพนธ์ของปริญญาโท จึงขอทำปริญญาเอกในด้านไหมไทยเหมือนเดิมครับ แต่เจาะลึกถึงโครงสร้างย่อยของเส้นใยไหมไทยครับ ใช้เวลาในการทำงาน 3 ปี 8 เดือนครับ ไม่เคยกลับบ้านเลย เพราะ Dr. Speakman จะปลดเกษียณครับ ที่โน้นปลดเกษียณกันอายุ 65 ปี ครับ ดังนั้นผมจึงมี Dr. J.G. Tomka อีกท่านมาเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมครับ

ถาม: เห็นว่า ดร. เคยบอกว่าได้สร้างวีรกรรมไว้ที่ประเทศอังกฤษค่ะ อะไรค่ะ


ตอบ: ไม่ใช่ผมสร้างวีรกรรม แต่เป็นวันที่ผมสอบปริญญาเอกซิครับ ดันเป็นวันที่ผู้ก่อการร้าย IRA วางระเบิดสถานีรถไฟเมือง Bradford ทำให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่จะมาสอบผมมาไม่ได้ ต้องเดินทางโดยรถประจำทางมาแทน ซึ่งเสียวมาก เพราะถ้าไม่ได้สอบก็คงไม่จบครับ แต่ก็ผ่านไปด้วยดี ถูกถามจนพรุนครับ ไม่มีการซูเอี๋ย คนหนึ่งถามอีกคนหนึ่งเตรียมถามต่อ มีคนสอบ 3 คน เป็น Professor ทั้งนั้น เกือบตาย พอเสร็จประมาณบ่ายโมง ก็เชิญผมออกนอกห้องสอบ ทั้ง 3 คนก็ตกลงกัน ต่อจากนั้นก็ประกาศผลสอบปากเปล่าป้องกันวิทยานิพนธ์ว่าผมผ่าน ผมรู้สึกในวินาทีนั้นภูมิใจมาก และก็นึกขอบคุณอาจารย์ที่ปรึกษาของผมทั้ง 2 คนมากๆ ครับ

ถาม: สรุปว่า ดร. ไปอยู่ที่อังกฤษ กี่ปีค่ะ

ตอบ: ผมอยู่ 4 ปี 8 เดือนครับ แทบตาย เงินไม่พอใช้ เรียนก็หนัก แถมโดนด่า ไม่ใช่ง่ายๆ แต่ก็กัดฟันไปหาเงินโดยการแปลหนังสือภาษาไทย ? อังกฤษ และอังกฤษ ? ไทย ได้เงินมาซื้อหนังสือ แล้วก็คอมพิวเตอร์ได้หนึ่งเครื่องครับพร้อมเครื่องพิมพ์อีกหนึ่งเครื่อง ที่เหลือก็ไม่มากนัก
อ้อ… ผมลืมขอบคุณอาจารย์ประเสริฐ ด่านธำรงกูล ซึ่งท่านเป็นธุระคอยช่วยเหลือผมช่วงที่เรียนเมืองนอกนะครับ

ถาม: อยากทราบความรู้สึกว่าคนที่จบปริญญาเอกจะต้องเหนือกว่าคนอื่น เก่งกว่า หรือเด่นกว่าคนอื่นจริงหรือเปล่าค่ะ ทำไมเป็นเช่นนั้นค่ะ

ตอบ: การที่คนจะจบปริญญาเอกได้มันก็คงต้องมีพลังอึดกว่าคนอื่นๆ เค้านะครับ เพราะของพวกนี้ถึงมีเงินมันก็ซื้อไม่ได้ แต่ก็มีบางคนที่ไปโอ้อวดว่าจบที่โน้นที่นี่ แต่ความจริงแค่ไปเรียนภาษาอังกฤษแค่นั้น แล้วก็ไปสแกนใบปริญญาบัตร แล้วก็พิมพ์ชื่อตัวเองใส่แทน ให้ปริญญาตัวเองก็มี แต่พวกนี้ถ้าใครรู้เค้าก็เอาไปทำปุ๋ยแน่ๆ ฐานเบิกเนตรครับ ความเก่งก็คงต้องมี ถ้าไม่มีเลยก็คงจบยาก และอาจไม่จบก็ได้ แต่ต้องมีดวงด้วย เพราะบางคนเรียนแทบตายก็ไม่จบ เนื่องจากงานที่ทำไม่ออกก็มี บางคนก็เป็นบ้าไปซะก่อน แต่ก็อย่าไปเสียใจเลยครับ คนบางคนไม่ต้องจบปริญญา เขายังเก่งกว่าคนที่จบปริญญาก็มี ประสบการณ์ชีวิตสอนกันไม่ได้ครับ แต่ผมว่าเหนือฟ้ายังมีฟ้า นั่นก็คือ อิทธิพล ครับ

ถาม: อะไรค่ะคืออิทธิพล

ตอบ: อิทธิพลคือเรื่องราวที่กลุ่มคน หรือบุคคลที่มีอำนาจ มักลุแก่อำนาจ เมื่อมีอำนาจใช้อำนาจในทางที่ผิด กลั่นแกล้ง ทำลายล้าง ทำทุกวิถีทางที่จะสกัดดาวรุ่ง ใจคอคับแคบ คิดว่าความคิดตนเองเป็นใหญ่ครับ ถ้าเป็นเช่นนี้ถึงจะจบสูงอย่างไรก็จอดไม่ต้องแจวเหมือนกันครับ

ถาม: งั้นดิฉันขอเข้าเรื่องดีกว่าค่ะ ทำไม ดร. จึงมาเปิดเว็บไซต์ www.ttcexpert.com ล่ะค่ะ

ตอบ: เมื่อผมกลับมาใหม่ๆ ผมมีแนวความคิดที่จะเปิดสถาบันการเรียนการสอนสิ่งทอแห่งชาติ แต่ก็เป็นแค่ความฝันลมๆ แล้งๆ เพราะเศรษฐกิจไม่ดี และเราก็ไม่มีเงินจำนวนมาก จะมาซื้อเครื่องมือ เครื่องจักร แล้วก็มาสอนคนได้ ทำอย่างไรที่จะช่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการฟอกย้อมพิมพ์ตกแต่งสิ่งทอ ให้กับโรงงานได้ วิธีการเดียวตอนนั้นที่คิด ก็คือ ต้องทำหนังสือตำราเรียนให้หมด ใครอยากรู้อะไรมาซื้อ ราคาถูกๆ ไม่ได้คิดจะเอากำไรอย่างไรมากนัก ขอให้มีเงินพอจะมาถัวเฉลี่ยกับค่าใช้จ่ายก็พอแล้ว รวยก็ไม่ใช่ว่าจะมีความสุข แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่าถ้าไม่มีเงินเลยชีวิตจะอยู่ได้อย่างไรเหมือนกันครับ
เมื่อกลับมาก็ทำตำราเยอะแยะ บางทีก็ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง แรกๆ ก็ให้อาจารย์ปิยะพงษ์ อัศวศุภฤกษ์ อ่าน ผลก็คือถูกวิจารณ์เละ เพราะไอ้ความที่เรามันไปอยู่ประเทศอังกฤษนานๆ แปลคำบางคำก็ติดขัด ไม่ค่อยจะลื่นนัก ตอนหลังๆ ก็ต้องปรับตัวโดยเขียนให้อ่านง่าย เข้าใจ ไม่ใส่คำภาษาอังกฤษมากนัก เป็นต้น อ้อหนังสือที่เขียนมีประมาณ 20 กว่าเล่มสนใจก็คลิ๊กดูได้ครับในเว็บไซต์ของเรา หนังสือเหล่านี้เรียบเรียงและรวบรวมจากหนังสือหลายเล่ม ไม่ใช่เอาหนังสือเล่มเดียวแล้วมาแปลของเขาทั้งดุ้นนะครับ ความจริงผมเขียนได้เอง แต่การที่จะเขียนหนังสือวิชาการนั้นจะต้องมีการอ้างอิง เพื่อให้ผู้อ่านมั่นใจว่ามีทฤษฎีเหล่านั้นจริง ไม่ใช่ Apichart's Theory นะครับ
เข้าเรื่องต่อครับ เมื่อปลายปี พ.ศ. 2544 ก็เริ่มจะมีความคิดว่า ถ้าเราทำแต่ตำรามันก็ได้แค่กลุ่มเล็กๆ ทำอย่างไรในเมื่อเงินเราก็ไม่มี ก็ได้แนวความคิดหนึ่งว่า ในเมื่ออินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ คนไทยก็เริ่มเล่นอินเตอร์เน็ตมากขึ้น จึงอยากจะทำเว็บไซต์ถามตอบปัญหาเกี่ยวกับเคมีสิ่งทอ เป็นการคืนเงินภาษีอากรที่ผมเอาไปใช้ที่ประเทศอังกฤษให้กับประชาชนชาวไทย แต่ไม่ใช่ง่ายๆ เราต้องรอมาประมาณ 1 ปี จึงได้ฤกษ์เปิดเว็บไซต์ตัวนี้ เพราะจะต้องหากลุ่มคนที่เป็นสุดยอดฝีมือของการฟอกย้อมพิมพ์ตกแต่งสิ่งทอมาให้ได้ (คนที่ตลาดนี้ยอมรับครับ) โดยแนวความคิดที่ว่ากลุ่มเหล่านั้นจะต้องมีบุคคลที่มีประสบการณ์มานาน และก็ดึงกลุ่มคนที่อายุไม่มากนักมาด้วย เพื่อทำให้เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีการถ่ายทอดประสบการณ์จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง เพื่อให้เด็กเหล่านี้เติบโตเป็นกำลังของชาติต่อไป
เมื่อได้พบบุคคลเหล่านั้นแล้ว ก็ต้องมีการประชุมหลายครั้ง จนสุดท้ายได้แนวทางที่เป็นไกด์ให้กับเว็บไซต์นี้ โดยมีคุณฐิติกร รักไทย ลูกศิษย์เอกของผมที่ช่วยเขียนเว็บไซต์นี้ให้
ซึ่งสมาชิกที่จะคอยตอบคำถามในเว็บไซต์นี้ประกอบด้วย
1. คุณอำนาจ พัฒน์ทอง
2. คุณสมชิต เรืองรักเรียน
3. คุณวิศัลย์ ณ ระนอง
4. คุณประภาส พัฒนอมร
5. คุณปิยะพงษ์ อัศวศุภฤกษ์
6. คุณวีระ อาชีวปริสุทธิ
7. คุณชิโนทัย พรหมหิตาทร
8. คุณฐิติกร รักไทย (Webmaster)
และตอนนี้เรามีสมาชิกถึงประมาณ 264 คน มีกระทู้ 99 เรื่อง มีคนตอบ 327 ครั้ง จำนวนที่เข้ามาชมมากกว่า 10,000 ครั้ง และหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ก็ได้กรุณาลงโฆษณาเว็บให้เรา ทำให้เว็บไซต์เป็นที่แพร่หลายขึ้นอีกครับ

ถาม: แล้วหนังสือกระบวนการทางเคมีสิ่งทอล่ะค่ะ ทำไมจึงเริ่มทำ ในเมื่อบอกว่าไม่มีเงินไงค่ะ

ตอบ: เงินก็ไม่มีหรอกครับ แต่หนังสือกระบวนการทางเคมีสิ่งทอนั้นได้มาจาก ตอนที่ผมเขียนเอกสารสำหรับการกำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ครับ ผมเห็นว่ามันครอบคลุมเนื้อหาได้ดี ก็เลยตัดสินใจทำ แต่ทั้งนี้ผมต้องขอขอบคุณคุณนพรัตน์ รังสร้อย ที่เป็นผู้กระตุ้น และก็ประสานงานกับคน Layout (คุณสุกัญญา พรหมทรัพย์) และโรงพิมพ์ให้ เพราะเธอเป็นบรรณาธิการนิตยสาร E-Economy ครับ ผมก็เลยเบาแรงไปเยอะ และอาจารย์สาธิตา ยิ่งเจริญไพบูลย์ และคุณกุลธวัช เจริญผล ที่ช่วยกรุณาออกแบบปก และวาดรูปให้ครับ
หนังสือเล่มนี้ผมมอบให้บริษัท ซีเอ็ด ยูเคชั่น จำกัด จัดจำหน่ายครับ ราคาเล่มละ 300 บาท ช่วยกันซื้อหน่อยนะครับ อย่าไปก๊อปปี้เลย ขอร้องเถอะครับ กำไรน้อยมาก เพราะราคาถูกที่สุดแล้วครับ

ถาม: มีคนเค้าพูดว่าที่ ดร. ทำเว็บไซต์ หรือหนังสือ นี่ เพราะอยากดัง จริงหรือไม่ค่ะ

ตอบ: ผมไม่เคยคิดว่าอยากดัง อยากเด่น อยากมีชื่อเสียง เหนือคนอื่น ให้คนอื่นเค้าหมั่นไส้เล่น ผมไม่เอาหรอกครับ คนประเภทนี้มันเยอะ แล้วก็พวกที่ทำงานไม่เป็นชิ้นเป็นอันก็เยอะ แต่ชอบร้องแรกแหกกะเฌอ ทำโปรโมทตัวเอง ผมไม่ชอบ และก็ไม่คิดจะทำด้วยครับ ถ้าผมจะทำผมจะทำให้เกิดประโยชน์จริงๆ ไม่ใช่ทำกันเล่นๆ เหมือนเด็กเล่นขายของ เบื่อแล้วก็เลิก อันนี้ไม่เอาครับผมจะต้องทำให้เสร็จ ไม่มีมาคาราคาซังใดๆ ทั้งสิ้น
ผมต้องทำให้เรื่องนี้เป็นเกิดประโยชน์กับนักศึกษาของผม และคนในวงการเคมีสิ่งทอก็พอแล้ว เป็นการสร้างทานบารมีประเภทหนึ่ง อีกทั้งช่วยยกระดับเทคโนโลยี และทักษะวิชาชีพให้กับคนเหล่านั้น เพื่อความหวังว่าคนเหล่านี้จะไปพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และลดปัญหามลพิษให้กับประเทศไทยในวันข้างหน้าครับ ผมทำอะไรไม่มองตื่นๆ แค่ปัจจุบันหรอก ถึงแม้ผมจะสายตาสั้น แต่คนเราต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกล พร้อมที่จะปรับตัวเองให้อยู่รอดครับ

ถาม: ดร. ค่ะ เห็นบอกว่า ดร. ไม่ค่อยจะสุงสิงกับสังคมสักเท่าไหร่ จริงไม๊ค่ะ

ตอบ: จริงครับ ผมมีบางอารมณ์ที่ไม่อยากจะไปพูดคุยกับใคร บางอารมณ์ก็พอจะรับฟังได้ เพราะที่บอกอย่างนี้ ผมเห็นกับตาตอนอยู่อังกฤษ คนที่ฟุ้งซ่านมีเวลามากไป ก็จะเกิดอาการจับแพะชนแกะ นึกตุตะเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ ซึ่งเหมือนกับคนไทยที่ประเทศไทยนั่นแหล่ะครับ ดังนั้นใครไม่ค่อยจะ Work ผมก็ไม่ค่อยอยากจะพูดด้วยซักเท่าไหร่ หรือใครที่ความคิดไม่ค่อยตรงกับผม แถมชอบขวางลำ ทำตัวเป็นปรปักษ์ เหมือนโกรธกันมาแต่ชาติปางก่อน ผมก็ไม่อยากสุงสิงด้วย ผมว่าพวกนี้บ้า ยึดมั่นถือมั่นมากไป เคยมีนักศึกษาที่ด่าแม่ผม ผมก็เฉย ผมให้เค้าได้ A เค้ามาขอโทษ และขอบคุณ ผมบอกว่าเรื่องคนละเรื่อง งานส่วนงาน ส่วนตัวก็ส่วนตัว ผมไม่เอามาเป็นอารมณ์เคียดแค้น แค่ผมทำงานให้กับนักศึกษาของผม (แต่งตำรา) ผมก็จะตายแล้ว ผมจะไปมีเวลาไปฟังเรื่องไร้สาระเหรอครับ ตลกจัง

ถาม: แล้วพวกที่ชอบกลั่นแกล้ง ดร. เห็นมีอยู่เหมือนกัน จะทำอย่างไร

ตอบ: ผมยกโทษให้ครับ อยากทำอะไรก็ทำเถอะครับ ระวังจะโดนดาบนั้นคืนสนองตัวเองแล้วกันครับ ผมให้เป็นทานบารมีครับ รวมๆ ก็คือ ขอให้ยกระดับจิตใจตัวเองบ้างครับ (ผิดว่าไปตามผิด ถูกว่าไปตามถูก คนไหนทำดีควรยกย่อง คนไหนทำไม่ดีควรตำหนิติเตียน) แค่นี้ก็พอใจแล้วครับสำหรับผม

ถาม: นึกไม่ถึงค่ะว่า ดร. จะใจบุญขนาดนี้

ตอบ: คนเราไม่กี่ปีก็ตาย เรามัวแต่หลงว่าอะไรเป็นของกูหมด ก็แย่แล้ว ผมไม่ค่อยแคร์เท่าไร อยากเป็นอะไรก็เป็นไปเลย เพราะที่ทำๆ อยู่ได้ตำแหน่งนะ งานทั้งนั้น คนอื่นเค้าไม่อยากจะทำ เค้าก็มาโบ้ยให้ผมบ้าง งานไม่เสร็จลุล่วงผมก็ต้องโดดมาช่วยก็มี

ถาม: งานวิจัยของ ดร. เด่นๆ ตั้งหลายงาน ช่วยบอกได้ไม๊ค่ะว่าอะไรบ้าง

ตอบ: งานวิจัยผม เช่น โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเอาเส้นใยไหมไทย มาทำเป็นเสื้อเกราะกันกระสุน (รศ. สุจิระ ขอจิตต์เมตต์ ดร.สมประสงค์ ภาษาประเทศ และผม) โครงการสายหน่วงสำหรับระเบิดสาย (ทำลายสนามทุ่นระเบิดรถถัง) (ดร.สมประสงค์ ภาษาประเทศ รศ. สุจิระ ขอจิตต์เมตต์ และผม) โครงการปรับปรุงกระบวนการย้อมมาตรฐาน ของห้างหุ้นส่วนจำกัด บ้านฝ้ายพรหมชนะ จ.เชียงใหม่ (ผม คุณประภาส พัฒนอมร และคุณชิโนทัย พรหมหิตาทร) ได้รับทุนจาก สวทช. และโครงการอีกมากมายครับ

ถาม: สุดท้ายนี้ขอให้ ดร. ฝากข้อคิดให้กับพวกเราสมาชิกเว็บไซต์ www.ttcexpert.com ค่ะ

ตอบ: ผมได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า "เกิดมาต้องทดแทนบุญคุณของแผ่นดิน" โดย ฯพณฯ พลเอกเปรม ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษครับ เพราะทุกวันนี้มีแต่คนเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ เห็นแก่เงิน เห็นแก่อำนาจ โดยทำอะไรไม่คำนึงถึงศีลธรรม และประชาชนส่วนใหญ่ มุ่งแต่ทำตัวเองให้เด่น แล้วข่มเหงคนอื่น ซึ่งผมไม่ชอบ และพูดจริงๆ ถ้ารู้ผมก็ไม่คบบุคคลดังกล่าวแน่นอน
สำหรับท่านใดต้องการหนังสือผมยังมีเหลือขอให้บอกชื่อ-นามสกุล และที่อยู่ พร้อมรหัสไปรษณีย์ให้ครบถ้วน ผมจะให้คุณกาญจนา เลขาฯ ของผมจัดส่งหนังสือไปให้ท่าน (เล่มนี้บางๆ ครับ อ่านไม่เกิน 20 นาทีก็จบ)
ผมเชื่อเรื่องบาปบุญครับ อย่างน้อยผมมีเพื่อนที่ดีเพิ่มขึ้นอีก นานๆ เข้าเพื่อนผมเป็นร้อย ซึ่งผมดีใจมากครับที่คนๆ เดียวสามารถจะช่วยเหลือกิจการของเพื่อนๆ และพนักงานที่เขารับผิดชอบอีกจำนวนมาก อย่างน้อยผลบุญคงจะทำให้ผมและเพื่อนๆ เจริญรุ่งเรือง ใครก็ไม่สามารถกลั่นแกล้งเราได้ครับ
ผมขอบอกว่าผมไม่ได้อยากแก่งแย่งชิงดีกับ ใคร ใครจะทำอะไรก็ทำครับ แต่ขอให้นึกถึงส่วนรวมบ้าง เปิดใจให้กว้าง อย่าคิดแบบคนใจแคบ (อย่าคิดแต่พวกพ้องตัวเอง หรือผลประโยชน์ที่จะได้รับ) บางครั้งเงินซื้อไม่ได้หรอกครับ ตายไปก็ต้องถูกฝัง หรือเผานั่นแหล่ะครับ เหลือแต่กระดูก พอนานไปก็กลายเป็นดิน ชีวิตมันแก่นั้น
ถ้าหากท่านสมาชิกมีอุดมการณ์คล้ายๆ กับผม ขอได้โปรดช่วยกันสนับสนุนผม และผมก็ยินดีที่จะช่วยเหลือท่านเช่นกัน
ขอต่ออีกนิดครับ ผมพยายามทำทุกวิถีทางที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมฟอกย้อมพิมพ์ตกแต่งสิ่งทอให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น อย่างน้อยพนักงานที่ทำงานในโรงงานเหล่านี้จะได้มีงานทำ น้ำไม่เสีย ใช้สารเคมี สีย้อมอย่างประหยัด ช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงาน และสังคมไทย หากสมาชิกคนใดต้องการความช่วยเหลือทาง TTCEXPERT.com ยินดีที่จะช่วยเหลือท่านไม่ว่าจะเป็นกิจการเล็กหรือใหญ่ เงินทองไม่ได้คิดมากมาย ขอให้พอกับค่าใช้จ่ายของพวกเรา เราก็พอใจแล้ว แต่ถ้าไม่มีเงินจริงๆ ก็บอกมาตามตรงก็ได้ครับ เราช่วยได้เราจะไปช่วยท่าน (อย่างรวดเร็วครับ)
ต้องขอขอบคุณครับในการมาสัมภาษณ์ผมในครั้งนี้ และผมต้องขอบคุณคนอ่านทุกท่านครับ หวังว่าจะได้พบกันในเว็บไซต์นะครับ กรุณาเข้ามาเยี่ยมเยียน ให้ความคิดเห็น แวะมาบ่อยครับ สุดท้ายนี้ผมขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในพิภพ จงบันดาลให้ท่านและครอบครัวมีความสุขตลอดปี พ.ศ. 2546 ที่จะถึงนี้ครับ ขอบคุณครับ.
--------------------------------------
สัีมภาษณ์ประมาณ ปลายเดือนธันวาคม 2545 ครับ!

บทสัมภาษณ์พิเศษของ ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ

(ครั้ังที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548)

ถาม ในปีนี้อาจารย์คิดว่างานวิจัยอะไรบ้างที่เด่นๆ ที่โรงงานสิ่งทอควรจะปรับตัวให้อยู่ได้ค่ะ?

ตอบ ผมคิดว่าเราควรพัฒนาใน 3 ส่วน ดังนี้ครับ
1. ส่วนของการออกแบบสิ่งทอ (Textile Design)
2. ส่วนของการผลิตสิ่งทอเทคนิค (Technical Textile)
3. ส่วนของการเพิ่มสมบัติพิเศษด้วยสารนาโน/ไมโคร (Nano/Micro Technology)

ถาม การออกแบบสิ่งทอคืออะไรค่ะ?

ตอบ การออกแบบสิ่งทอนั้น ต้องอาศัยความรู้ตั้งแต่การผลิตเส้นใยสังเคราะห์ หรือการนำเอาเส้นใยธรรมชาติที่ถูกประเภทมาใช้ออกแบบจนกระทั่งเป็นเส้นด้าย ผืนผ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ครับ

ถาม แล้วการออกแบบแฟชั่นอยู่ตรงไหนล่ะค่ะ?

ตอบ การออกแบบแฟชั่นน่าจะเป็นแค่ซับเซต (Sub set) ของการออกแบบสิ่งทอครับ เพราะแค่นำเอาผ้า หรือองค์ประกอบอื่นๆ มาตัดเย็บให้เป็นเสื้อผ้าแฟชั่นครับ แต่ถ้าการออกแบบสิ่งทอนั้นสามารถรวมได้ถึงการผลิตสิ่งทอที่ใช้ในครัวเรือน (เคหะสิ่งทอ) หรือสินค้าอื่นๆ ได้อีกหลายชนิดครับ

ถาม ตอนนี้เห็นว่าสิ่งทอเทคนิคกำลังมาแรงนะค่ะ? ไม่ทราบว่าอาจารย์คิดว่าอนาคตเป็นอย่างไรบ้างค่ะ?

ตอบ ขอเพิ่มเติมอีกนิดนะครับ เรื่องออกแบบสิ่งทอ ถ้าประเทศไทยสามารถผลิตนักออกแบบ (ดีไซน์เนอร์) ที่ดังๆ ได้ ก็จะเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าที่ขายได้มากขึ้นแน่ๆ ครับ เช่น เสื้อผ้ายี่ห้อดังๆ ขายแค่ตัวสองตัว ได้เงินตั้งเยอะ กับการที่เราต้องมาผลิตเป็นร้อยเป็นพัน เพื่อจะได้เงินเท่าเค้า แต่อันนี้ต้องใช้เวลาในการสร้างภาพพจน์ หรือสร้างแบรนด์นะครับ ไม่ใช่แค่ปีเดียวจะสร้างได้ แต่ผมคิดว่าถ้าจะให้เร็วควรจะต้องรวมกลุ่มของนักออกแบบ แล้วใช้ผลิตครับ เป็นต้น
สำหรับสิ่งทอเทคนิคสามารถจำแนกได้มากมาย เช่น สิ่งทอเทคนิคด้านการก่อสร้าง ด้านการแพทย์ ด้านการกีฬา ด้านการป้องกันร่างกายผู้สวมใส่ ด้านการเพาะปลูกพืช ด้านการผลิตรถยนต์ ฯลฯ ทั้งนี้ผู้ที่จะผลิตสิ่งทอเทคนิคจะต้องทราบตั้งแต่เส้นใย เส้นด้าย ผืนผ้า ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป เพราะบางกระบวนการสามารถทำให้ผ้า หรือผ้าไม่ทอ เปลี่ยนจากของที่ไม่มีค่า กลายเป็นของมีค่าได้อย่างรวดเร็วครับ
อย่างไรก็ตามการผลิตอะไรสักอย่าง จะต้องมีตลาดนะครับ ไม่ใช่นักวิจัยแค่คิดว่าอยากจะทำ แต่ไม่มีตลาด อันนี้ต้องพึ่งทางนักการตลาด เพื่อสร้าง หรือเพิ่มมูลค่า เช่นกัน

ถาม สำหรับเรื่องนาโนเทคโนโลยี มีอะไรบ้างค่ะที่สามารถไปได้บ้าง?

ตอบ อะไรก็นาโน! ความจริงบางอย่างเราสามารถทำได้นะครับ โดยไม่ต้องถึงกับต้องใช้สารนาโน เช่น การเคลือบด้วยสารกันน้ำ ซึ่งราคาก็จะลดลงนะครับ แต่ในเมื่อมีกระแสคลั่งไคล้สิ่งนี้ เราก็คงต้องกัดฟันซื้อ (ราคาแพง) บ้างครับ แต่ไม่ใช่ว่าสารนาโนจะไม่ดีนะครับ ของดีก็มี เช่น แคปซูลน้ำหอมที่ทำให้น้ำหอมคงตัว หรือมีกลิ่นหอมนานขึ้น ถ้าไม่ไปถู หรือทำให้แคปซูลเล็กๆๆๆ แตกออกครับ ถ้าอย่างไรก็กรุณาอ่านใน “นาโนเทคโนโลยีสำหรับงานสิ่งทอ” ใน http://www.ttcexpert.com นะครับ

ถาม สรุปว่าตอนนี้น่าทำแบบที่กล่าวมาใช่หรือไม่ค่ะ?


ตอบ ครับ ก็คงจะนำเสนอแค่นี้ก่อนครับ แต่ความจริงก็ยังมีอีกหลายสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่นะครับ สามารถทำได้เช่นกัน แต่ผมขอเสนอสิ่งที่ง่ายๆ ก่อน เพราะไม่อยากใช้วิธี “ขี่ช้างจับตั๊กแตน” นะครับ

ถาม สมมติว่าทุกคนเค้าทำตามแบบอาจารย์บอกจะเกิดการล้นตลาดหรือไม่ค่ะ?

ตอบ ผมก็กลัวเหมือนกันนะครับ เพราะคนไทยชอบเห่อ อะไรในกระแสก็จะแห่กันไปทำหมด บางทีถึงกับการขาดทุนได้ครับ แต่ยังไงสมัยนี้ผมคิดว่าควรจะพยายามทำอะไรที่ไม่เหมือนกับคนอื่น น่าจะดีกว่าครับ

ถาม สุดท้ายนี้ขอให้อาจารย์ช่วยบอกหน่อยค่ะว่ามีอะไรใหม่ๆ ที่จะนำเสนอในเว็บไซต์ หรือหนังสือใหม่ของอาจารย์ค่ะ?

ตอบ ตอนนี้ผมมีหนังสือ “คู่มือเว็บไซต์สิ่งทอ” นะครับ ราคาเพียง 150 บาท พิมพ์สี่สีทั้งเล่ม แถมมีซีดีรอมอีกหนึ่งแผ่น ช่วยอุดหนุนหน่อยครับ รายละเอียดโทร. ไปที่สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอได้ครับ และในช่วงปิดเทอมผมคิดว่าจะต้องจัดทำ VCD หรือ DVD ชุดอีเลิร์นนิ่งด้านฟอกย้อมพิมพ์ตกแต่งสิ่งทอให้ครับ หากท่านใดมีไอเดียดีๆ ที่อยากจะเสนอแนะก็สามารถส่งมาได้ที่ drapichart2006@hotmail.com นะครับ ผมจะได้นำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไปครับ การที่แต่ละคนข่วยกันเสนอความคิดเห็นจะทำให้งานที่ออกมาดีขึ้นครับ

ถาม ขอขอบคุณอาจารย์ สำหรับการให้คำสัมภาษณ์ในครั้งนี้ค่ะ พบกันใหม่ในการสัมภาษณ์ครั้งหน้าค่ะ สวัสดีค่ะ

ตอบ ขอขอบคุณเช่นกันครับ สำหรับการสละเวลามาตั้งคำถาม และพูดคุยกับผมครับ สวัสดีครับ.
------------------------------------------------


วีดีโอซีดี เรื่อง "นาโนเทคโนโลยีสำหรับงานสิ่งทอ" เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง "การทำความสะอาดสิ่งทอ" การจัดทำกิจกรรม 5ส และการจัดทำระบบคุณภาพ ISO 9001:2000

ผลงาน ผศ.ศุภวิทย์ ลวณะสกล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เรื่อง แก๊สซิไฟเออร์ คลิ๊กดู VDO ที่นี่ครับ (พลังงานทดแทนน้ำมัน!!!)

ท่านผู้อ่านสามารถโหวตแสดงความพึงพอใจ กับเว็บไซต์ของเราได้ที่นี่ครับ ขอบคุณครับ

Please vote for our website here

 

  หนังสือรวมสุดยอดเว็บไซต์สิ่งทอทั่วโลก Hot Textile Websites เล่มใหม่ เหมาะสำหรับ ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ นักศึกษา ผู้สนใจด้านสิ่งทอ ราคา 150 บาท สนใจติดต่อ...คุณสว่างจิตต์ หรือคุณกนกวรรณ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ โทร. 0 2713 5492-9

โครงการความร่วมมือในอนาคต

เร็วๆ นี้จะมีข่าวดีสำหรับโครงการความร่วมมือครับ ระหว่างมหาวิทยาลัย Leeds ประเทศอังกฤษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ โครงการ ITAP สวทช. ประเทศไทย อดใจรอสักนิดครับ

 

ดูรายชื่อหนังสือทั้งหมด (30 เล่ม) ที่นี่ครับ

ประมวล ภาพที่ 1 าพที่ 2

การสัมมนา เรื่อง สุดยอดการจัดการสิ่งทอ : เทคโนโลยีสะอาด ทำกำไรได้จริงหรือ? ในวันที่ 26-27 พ.ค. 2548 ถ้าท่านต้องการหนังสือประกอบการสัมมนา สามารถติดต่อได้ที่ อ.อภิชาติ ครับ

--------------------------------

Interview with Dr. Apichart

บทสัมภาษณ์ ดร.อภิชาติ

คลิ๊กที่นี่ครับ

--------------------------------

Blog ที่นี่ครับ หากท่านต้องการจะโพสต์ข้อมูลที่นี่

ผลงานของ ผศ.ดร.อภิชาติ

บทสัมภาษณ์รายการ "ความรู้สู่ชุมชน" วิทยุเพื่อการศึกษา FM 92 MHz วันที่ 30 มิ.ย. 2548 เวลา 13.30-14.30 น.คลิ๊กที่นี่ (22 Minutes)

เครื่องย้อมพลังงานแสงอาทิตย์ (งานวิจัย) จากหนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 11 สิงหาคม 2548 และจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 26 สิงหาคม 2548 คลิ๊กที่นี่ ชมวีดีโอคลิป จากรายการรู้รักษ์พลังงาน สถานีโทรทัศน์ไอทีวี วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2548 Movie Here

เครื่องผลิตโฟม สำหรับการย้อมที่ใช้น้ำกว่าปกติ (งานวิจัย) ชมวีดิโอคลิป จากรายการรู้รักษ์พลังงาน สถานีโทรทัศน์ไอทีวี วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2548 Movie Here

บทสัมภาษณ์คุณสุนทร ไกรตระกูล กรรมการผู้จัดการบริษัท คาร์เปท เมกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ที่ได้รับคำปรึกษาจาก ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ ภายใต้โครงการ ITAP สวทช. คลิ๊กที่นี่

ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์ การบรรยายเรื่อง "นาโนเทคโนโลยีกับงานสิ่งทอ" Nanotechnology in Textiles V.4.00 ฟรี!

คลิ๊กที่นี่ครับ

----------------------------------

สนใจอยากให้คณะที่ปรึกษา ttcexpert.com เข้าช่วยเหลือธุรกิจ ของท่าน ttcexpert.com สามารถติดต่อได้ที่นี่ โทร. 0 2549 3666 หรือ โทรสาร 0 2549 3665 ครับหรืออยากทำโครงการ... ติดต่อโครงการ ITAP สวทช. ที่ คุณวรรณรพี โทร. 0 2564 7000 ต่อ 1379

 

เขียนติชมได้ที่นี่ครับ! Guest Book

สนใจติดต่อโฆษณาได้ที่

eng_pub@hotmail.com

ค่าสปอนเซอร์เหล่านี้จะนำมาปรับปรุงเว็บ ให้บริการได้ดีกว่านี้ครับ ขอบคุณครับ

จากใจ ผศ.ดร.อภิชาติ

Asking for your helps, please.

เนื่องจากเว็บไซต์นี้เปิดบริการฟรี ให้กับพวกท่านมาเป็นเวลาเกือบ 4 ปี ถ้าหากท่านต้องการ จะสนับสนุนผม ให้สามารถทำงาน เพื่อสังคม มากกว่านี้ เช่น ช่วยเหลือให้สามารถจัดการสอนออนไลน์ ซื้อหนังสือ ตำราจากต่างประเทศให้ หรือหาผู้ช่วย ในการทำอีเลิร์นนิ่งให้ดีกว่านี้ เป็นต้น เพื่อเราจะร่วมกันทำเว็บนี้ ให้เป็นแหล่งความรู้ ที่ดีแห่งหนึ่ง ให้กับนักศึกษา พนักงาน ครูอาจารย์ และผู้สนใจต่อไปครับ

ขอบพระคุณที่ช่วยสนับสนุนครับ

ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ

ขณะนี้ยังไม่ค่อยมีสปอนเซอร์มาติดต่อเลยนะครับ ขอความช่วยเหลือจากท่านบ้าง ผมต้องเข้ามาตอบตลอด มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นนะครับ อย่างน้อยช่วยซื้อหนังสือบ้างก็ยังดีครับ

ขอบพระคุณในความเห็นใจของทุกท่านครับ

ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ

29-10-48

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งทอจัดให้ตามคำแนะนำของคุณบัณฑิต พงศาโรจนวิทย์ คลิ๊กที่นี่ครับ

-------------------------

Silk : Queen of Fibres - The Concise Story by Assist. Prof. Dr. Apichart Sonthisombat and Dr. Peter T. Speakman (PDF FILE)--> Click here!

---------------------

Technical Textile Useful Links --> Click here!

--------------------------

Nanotechnology Useful Links -->Click here!

--------------------------------------------------

คำนิยามเกี่ยวกับการฟอกย้อมพิมพ์ตกแต่งสิ่งทอ

คลิ๊กที่นี่ครับ

รายชื่อหนังสือใหม่ล่าสุด

- การปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในโรงงาน เล่ม 2 ราคา 300 บาท (หนาประมาณ 300 กว่าหน้าครับ) **

- เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ต เสร็จแล้วครับ ราคา 60 บาท (พิมพ์สี)**

สนใจติดต่อได้ที่ ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ (**ค่าส่งลงทะเบียนอีกประมาณ 20 บาทต่อเล่มครับ)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อยากให้เว็บนี้มีอะไรเพิ่มเติม...กรุณาส่งอีเมล์ หรือโทรมาบอกได้ครับ เราจะพัฒนาไปเรื่อยๆ ให้ดีที่สุดครับ

WEBSTAT for ttcexpert.com

Last updated on 10-9-51

ติดต่อสอบถาม โทร. 0 2549 3666 หรือ โทรสาร 0 2549 3665 หรือที่... e-mail: eng_pub@hotmail.com, en@rmut.ac.th

Assistant Professor Dr. Apichart Sonthisombat

Department of Textile Engineering, Faculty of Engineering, Rajamangala University of Technology Thanyaburi (RMUTT),

Rungsit-Nakornnayok Road, Klong 6. Thanyaburi, Pathumthani, 12110 THAILAND

 

หมายเหตุ ความคิดเห็นที่ปรากฎในเว็บไซต์หรือเว็บบอร์ดนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว ของผู้เขียนมิได้เป็นความเห็นชอบของคณะวิศวกรรมศาสตร์ หรือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี แต่อย่างใด