ประวัติคณะที่ปรึกษา (RESUME)
ผศ.ดร. อภิชาติ สนธิสมบัติ
คุณ อำนาจ พัฒน์ทอง
คุณ สมชิต เรืองรักเรียน
คุณ วิศัลย์ ณ ระนอง
คุณ ประภาส พัฒนอมร
คุณ ปิยะพงษ์ อัศวศุภฤกษ์
คุณ วิระ อาชีวปริสุทธิ
คุณ ฐิติกร รักไทย (Webmaster)
คุณ ชิโนทัย พรหมหิตาทร
คุณ ธำรงค์ รักษาบุญ (Designer)
อาจารย์ กุลธวัช เจริญผล (Art Designer)
อาจารย์เอ คณะศิลปกรรม มทรธ. (Art Designer)

ขอเชิญฟังเสียง ดร.อภิชาติ ในการให้สัมภาษณ์ รายการ SMEs TODAY FM 101MHz วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2549 เวลา 12.15-12.30 น. ที่นี่ครับ (wav file)

------------------------------

สัมภาษณ์ ผศ.ดร.อภิชาติ เรื่อง โครงการ ITAP สวทช. และเรื่อง การพัฒนาการย้อมในชนบท แนวทาง และอนาคต ที่นี่ครับ

-------------------------
หนังสือกระบวนการทางเคมีสิ่งทอ
เล่มนี้เหมาะ สำหรับ ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ ช่างเทคนิค และผู้ที่สนใจ 300 บาทเท่านั้น สนใจติดต่อ ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ โทรสาร 0 2549 3665

----------------------------------

ท่านสามารถดูตารางธาตุได้ที่นี่ โดยท่านสามารถ ทราบค่าต่างๆได้ อาทิ เป็นธาตุตัวที่เท่าไร ค่าโมเลกุล ความทนต่ออุณหภูมิ ฯลฯ

 

Lessons (Page 1)

e-learning in Textile Chemistry

---------------------------------------

คำถามน่าสนใจเกี่ยวกับเส้นใย แต่เสียดายต้องตอบ ภายในไม่ถึง 5 ชั่วโมง

(Fax มาช่วงเกือบเที่ยง ต้องตอบภายใน 5 โมงเย็น) ดังนี้ครับ

http://www.ttcexpert.com/questions.pdf
--------------------------------

ตัวอย่าง Presentation Functional Textiles --> Click Here

ดาวน์โหลดไปแล้ว เห็นว่าเนื้อหาดี ก็ขอให้ช่วยกันซื้อ ตำราบ้างครับ (PLEASE)

----------------------------------

หนังสือเล่มใหม่ล่าสุด

การนำเอานาโนเทคโนโลยีมาใช้กับงานสิ่งทอ + เทคโนโลยีพลาสมา และเทคโนโลยีอื่นๆ

พิมพ์ภาพสี ราคาเล่มละ 250 บาท

สนใจติดต่อ ดร.อภิชาติ

--------------------------

1

ผลงานของ ผศ.ดร.อภิชาติ กับโครงการ iTAP สวทช.

บริษัท คาร์เปท เมกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด |

หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ 23 พ.ย. 2549

--------------------------------

KM | PAGE 1 | PAGE 2 | PAGE 3 | PAGE 4

เส้นใยที่จะเป็นเส้นใยทางสิ่งทอควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1. ควรมีความยาวมากกว่าความกว้างหลายร้อยเท่าตัว
2. สามารถบิดตัวรวมกันเป็นเส้นด้ายได้
3. เส้นใยจะต้องมีความแข็งแรง และมีความยืดหยุ่นตัว
4. มีความแข็งแรงเพียงพอที่จะทนต่อกระบวนการปั่นด้าย และทอผ้า และเมื่อผลิตเป็นผืนผ้าได้ แล้วจะทำให้ผ้านั้นมีความแข็งแรงเพียงพอในการใช้งานได้
5. หากเส้นใยมีความยืดหยุ่นตัวดี จะทำให้เกิดลักษณะการพริ้วตัวของผ้า
6. ความยาวของเส้นใยโดยปกติแล้วเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ความยาวเส้นใยจะต้องมีค่าไม่น้อยกว่า 1/4 ถึง 1/2 นิ้ว จนถึงความยาวไม่จำกัด เพื่อทำให้เกิดแรงยึดตัวกันอย่างเหมาะสม ภายหลังกระบวนการปั่นด้าย
7. ความละเอียดของเส้นใย ยิ่งเส้นใยละเอียดเท่าใด ผ้าจะมีความนุ่มนวล เช่น เส้นใยไหม แต่ถ้าเส้นใยที่ใช้เป็นป่านปอ ควรจะต้องผลิตเป็นกระสอบมากกว่าเสื้อผ้า เนื่องจากเส้นใยเหล่านั้นหยาบมาก
8. ความยืดหยุ่นตัวทำให้เสื้อผ้า คงรูปร่าง เมื่อมีแรงดึงยืด
9. รอยหยิกงอ เป็นสมบัติเฉพาะตัวของเส้นใยธรรมชาติ จำพวกเส้นใยขนสัตว์
10. การดูดความชื้นของเส้นใย ทำให้สบายตัวเมื่อสวมใส่ และลดไฟฟ้าสถิตย์บนเส้นใย เช่น เส้นใยสังเคราะห์ ในฤดูหนาวได้ดี
11. น้ำหนักของเส้นใยทำให้การทิ้งตัวของผืนผ้าดีขึ้น ถ้าเส้นใยหนักเกินไป จะทำให้สวมใส่ไม่สบายตัว เนื่องจากน้ำหนักของผ้าถ่ายมาที่ตัวผู้สวมใส่
12. จะต้องหาง่าย และราคาถูก
13. จะต้องย้อมสี พิมพ์ และตกแต่งได้ง่าย ไม่ทำให้เกิดการติดสีที่ไม่สม่ำเสมอ
14. ควรมีส่วนที่ไม่เป็นระเบียบอยู่ในโครงสร้างบ้าง เพื่อทำให้สีสามารถแทรกซึมเข้าไปในเส้นใยได้ ในกรณีที่ย้อมสีเส้นใยนั้นๆ

การจำแนกเส้นใยชนิดต่างๆ
เส้นใยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. เส้นใยที่มาจากธรรมชาติ (Natural Fibres)
2. เส้นใยที่มนุษย์ผลิตขึ้น (Man-made Fibres)
เส้นใยธรรมชาติสามารถแบ่งออกได้เป็นสามประเภทใหญ่ๆ ตามแหล่งกำเนิดเส้นใยคือ
1. เส้นใยที่ได้มาจากพืช (Vegetable Fibres) ซึ่งรวมถึงเส้นใยฝ้าย (Cotton) รวมถึงเส้นใย แฟลกซ์ (Flax), เส้นใยป่าน, ปอ และพืชชนิดอื่นๆ เช่น สับปะรด ผักตบชวา กล้วย เป็นต้น เส้นใยเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีส่วนประกอบของเซลลูโลส (Cellulose)
2. เส้นใยที่ได้มาจากสัตว์ (Animal Fibres) เป็นเส้นใยที่ได้มาจากสัตว์ เช่น แพะ แกะ หรือ ไหม เป็นต้น ซึ่งเส้นใยเหล่านี้จะมีส่วนประกอบของกรดอะมิโนต่างๆ ประกอบเป็นโปรตีน (Protein)
3. เส้นใยที่ได้มาจากแร่ธาตุ (Mineral Fibres) ซึ่งไม่ค่อยจะนิยมใช้ในงานสิ่งทอปกติ แต่จะนิยม ใช้กับงานด้านความคงทนต่อเปลวไฟ และความร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นใยหิน (Asbestos)

เส้นใยที่มนุษย์ผลิตขึ้นสามารถแบ่งออกได้เป็นสามประเภทคือ
1. เส้นใยที่ดัดแปลงมาจากพอลิเมอร์ธรรมชาติ (Natural Polymer Fibres) เนื่องจากเซลลูโลส มีอยู่จำนวนมากไม่ว่าจะเป็นฝ้าย หรือลำต้นของต้นไม้ก็ตาม ฉะนั้นมนุษย์สามารถนำมาดัดแปลงทำเป็น เส้นใยที่ต้องการ เช่น เรยอน วิสโคส หรือ อะซิเตด เป็นต้น
พอลิเมอร์ธรรมชาติอีกแหล่งที่มีมากเช่นกัน คือ พวกโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วเหลือง นมสด ข้าวโพด
2. เส้นใยอนินทรีย์ (Inorganic Fibres) เป็นเส้นใยที่มนุษย์ผลิตขึ้น เช่น ใยแก้ว เซรามิก หรือโลหะ เป็นต้น
3. เส้นใยสังเคราะห์ (Synthetic Fibres) เป็นเส้นใยที่ส่วนมากจะได้มาจากอุตสาหกรรมปิโตร-เลียม เช่น พอลิเอสเตอร์ พอลิเอไมด์ พอลิอะไครโลไนไทล์ พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ เป็นต้น

กระบวนการผลิตเส้นใยที่มนุษย์ผลิตขึ้น
เส้นใยที่มนุษย์ผลิตขึ้นมีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป แต่ปกติจะมีอยู่เพียงไม่กี่เส้นใยที่นิยมใช้กันมาก เช่น เส้นใยวิสโคส เรยอน เส้นใยอะซิเตด เส้นใยพอลิเอสเตอร์ เส้นใยไนล่อน และเส้นใยอะไครลิค เป็นต้น ที่นิยมใช้ สำหรับงานเครื่องนุ่มห่มสำเร็จรูป การผลิตเส้นใยนี้จะทำโดยการนำเอา "มอโนเมอร์" มารวมตัว กันทำให้เกิดโมเลกุลใหญ่ๆ ซึ่งเราเรียกว่า "พอลิเมอร์" แล้วนำเอาพอลิเมอร์ที่ได้มาทำการปั่นผ่านแว่นกดเส้นใย

การปั่นเส้นด้ายสังเคราะห์มีสามวิธีใหญ่ๆ คือ
1. การปั่นแบบแห้ง (Dry Spinning) โดยการนำเอาตัวทำละลายที่เหมาะสมกับชนิดของเส้นใย มาทำละลาย และจะต้องเป็นสารที่ระเหยได้ง่าย เมื่อฉีดเส้นใยออกมาผ่านลมร้อนจะทำให้ เส้นใยแข็งตัว ตัวทำละลายสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เหมาะกับการผลิตเส้นใยอะซิเตด ไตรอะซิเตด อะไครลิค ยางยืด เป็นต้น

2. การปั่นแบบเปียก (Wet Spinning) เป็นวิธีการเก่าแก่ที่สุด เมื่อฉีดเส้นใยออกจากแว่นกดเส้นใย และทำให้เย็นโดยการผ่านลงในน้ำ หรือสารละลายที่เหมาะสม ก่อนนำไปใช้งานจะต้องล้างสารเคมีที่มีอยู่ออกก่อน ใช้กับการผลิตเส้นใยเรยอน อะไครลิค และยางยืด

3. การปั่นแบบหลอมละลาย (Melt Spinning) โดยการนำเอาผลิตภัณฑ์มาหลอมเหลวแล้วจึง ฉีดเส้นใยผ่านแว่นกดเส้นใย ทั้งนี้อาจผ่านลมธรรมดา หรือลมร้อน เพื่อทำให้เส้นใยแข็งตัว ไม่จำเป็นต้องล้างทำให้ประหยัดต้นทุนการผลิตมากขึ้น เส้นใยที่ใช้วิธีนี้ เช่น เส้นใยไนล่อน พอลิเอสเตอร์ พอลิโอลิฟิน เป็นต้น

เส้นใยที่นิยมใช้ในประเทศไทย คือ เส้นใยฝ้าย 100% และเส้นใยผสมระหว่างพอลิเอสเตอร์กับฝ้ายในอัตราส่วนต่างๆ ส่วนเส้นใยไนล่อนจะนิยมใช้กับพวกผ้าลูกไม้สำหรับชุดชั้นใน สตรี และถุงเท้า เส้นใย อะไครลิคใช้ทำพรม เส้นด้ายทำงานประดิษฐ์ หรือผ้าห่มนอนไหมพรม สาเหตุที่ไม่นิยมใช้ผ้าใยสังเคราะห์เนื่องจากว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนชื้น เมื่อผู้สวมใส่มีเหงื่อการดูดซึมความชื้นของใยสังเคราะห์ ไม่ดีพอทำให้สวมใส่แล้วไม่สบายตัว อีกทั้งปัญหาเรื่องไฟฟ้าสถิตย์ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะหน้าหนาว อีกทั้งมีคนบางคนที่เกิดอาการแพ้ใยสังเคราะห์ ทำให้ผิวหนังระคายเคืองได้
สำหรับเส้นใยสังเคราะห์จะมีลักษณะที่เรียกว่า พอลิเมอร์ (Polymer) ซึ่งพอลิเมอร์เกิดได้สองรูปแบบ (จำแนกตามกลไกการเกิดปฏิกิริยา) คือ
1. ปฏิกิริยาควบแน่น (Condensation Reaction) ปกติเมื่อเกิดปฏิกิริยานี้จะทำให้เกิดโมเลกุลของน้ำขึ้น
2. ปฏิกิริยารวมตัว (Addition Reaction) จะไม่มีการสูญเสียโมเลกุลเล็กๆ ไป

ในการพิจารณาหน่วยซ้ำๆ ของพอลิเมอร์จะประกอบด้วย (จำแนกตามชนิดของมอโนเมอร์)
1. พอลิเมอร์ที่มีหน่วยซ้ำๆ กันเพียงชนิดเดียว (Homopolymer)
2. พอลิเมอร์ที่มีหน่วยซ้ำๆ กัน สองชนิดหรือมากกว่า (Copolymer)
2.1 โคพอลิเมอร์ที่จัดแบบสุ่ม (Random Copolymer)
ตัวอย่าง เช่น ABBBAAAABBABBABAABABBBA
2.2 โคพอลิเมอร์ที่จัดแบบสลับกัน (Alternating Copolymer)
ตัวอย่าง เช่น ABABABABABABABABABABABA
2.3 โคพอลิเมอร์ที่จัดแบบบล็อก (Block Copolymer)
ตัวอย่าง เช่น AAAAAAABBBBBBBAAAAAAABBBBBBB
2.4 โคพอลิเมอร์ที่จัดแบบโซ่ (Graft Copolymer)

หากจำแนกตามการเปลี่ยนแปลงของพอลิเมอร์ เมื่อได้รับความร้อนสามารถจำแนกได้ดังนี้
1. เทอร์โมพลาสติก พอลิเมอร์ (Thermoplastic Polymer) เป็นพอลิเมอร์ที่สามารถหลอมตัวได้ด้วยความร้อนแล้วแข็งตัว เมื่อทำให้เย็นตัวลง การหลอมและการเย็นตัวทำได้หลายๆ ครั้ง โดยไม่มีผลเสียกับสมบัติทางกายภาพและทางเคมี เช่น พอลิสไตรีน พอลิไวนิลคลอไรด์ (ที่ไม่ใช่โครงสร้างแบบร่างแห (Network)) และใยสังเคราะห์สิ่งทอ (เช่น พอลิเอสเตอร์ พอลิเอไมด์ พอลิอะไครโลไนไทล์ เป็นต้น)
2. เทอร์โมเซตติ้ง พอลิเมอร์ (Thermosetting Polymer) เป็นพอลิเมอร์ที่สามารถหลอมตัวได้เฉพาะครั้งแรกเท่านั้นตามด้วยการเชื่อมต่อกัน ดังนั้นพอลิเมอร์จะมีความแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อโดนความร้อน แต่ถึงจุดๆ หนึ่งจะสลายตัวเนื่องจากความร้อนจะทำลายพันธะยึดเหนี่ยวของตัวเชื่อมต่อ ตัวอย่าง เช่น เมลามีนฟอร์มัลดีไฮด์ (Melamine formaldehyde resin) และ เบกาไลท์ (Bekelite) เป็นต้น

ลักษณะการจัดเรียงตัวภายในเส้นใย
1. บริเวณที่เป็นส่วนที่ไม่เป็นระเบียบ (Amorphous Regions) เป็นบริเวณที่สามารถรับน้ำ และความชื้น ดังนั้นจะเป็นบริเวณที่ยอมให้สีย้อมเข้าไปได้ แต่จะเป็นส่วนที่ไม่แข็งแรง
2. บริเวณที่เป็นส่วนที่เป็นระเบียบ (Crystalline Regions) เป็นบริเวณที่ไม่สามารถรับน้ำ และความชื้น เป็นส่วนที่แข็งแรงของเส้นใยเนื่องจากโซ่โมเลกุลเรียงตัวเป็นระเบียบ
3. การจัดเรียงตัวของส่วนที่เป็นระเบียบตามแนวแกนเส้นใย (Orientation) เป็นบริเวณที่มีส่วนที่เป็นระเบียบเรียงตัวตามแนวแกนของเส้นใย ทำให้เพิ่มความแข็งแรงในด้านการทนแรง ดึงตามแนวแกนเส้นใยได้

ที่มาจาก หนังสือกระบวนการทางเคมีสิ่งทอ ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ

KM | PAGE 1 | PAGE 2 | PAGE 3 | PAGE 4

วีดีโอซีดี เรื่อง "นาโนเทคโนโลยีสำหรับงานสิ่งทอ" เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง "การทำความสะอาดสิ่งทอ" การจัดทำกิจกรรม 5ส และการจัดทำระบบคุณภาพ ISO 9001:2000

ผลงาน ผศ.ศุภวิทย์ ลวณะสกล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เรื่อง แก๊สซิไฟเออร์ คลิ๊กดู VDO ที่นี่ครับ (พลังงานทดแทนน้ำมัน!!!)

ท่านผู้อ่านสามารถโหวตแสดงความพึงพอใจ กับเว็บไซต์ของเราได้ที่นี่ครับ ขอบคุณครับ

 

  หนังสือรวมสุดยอดเว็บไซต์สิ่งทอทั่วโลก Hot Textile Websites เล่มใหม่ เหมาะสำหรับ ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ นักศึกษา ผู้สนใจด้านสิ่งทอ ราคา 150 บาท สนใจติดต่อ...คุณสว่างจิตต์ หรือคุณกนกวรรณ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ โทร. 0 2713 5492-9

โครงการความร่วมมือในอนาคต

เร็วๆ นี้จะมีข่าวดีสำหรับโครงการความร่วมมือครับ ระหว่างมหาวิทยาลัย Leeds ประเทศอังกฤษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ โครงการ ITAP สวทช. ประเทศไทย อดใจรอสักนิดครับ

 

ดูรายชื่อหนังสือทั้งหมด (30 เล่ม) ที่นี่ครับ

ประมวล ภาพที่ 1 าพที่ 2

การสัมมนา เรื่อง สุดยอดการจัดการสิ่งทอ : เทคโนโลยีสะอาด ทำกำไรได้จริงหรือ? ในวันที่ 26-27 พ.ค. 2548 ถ้าท่านต้องการหนังสือประกอบการสัมมนา สามารถติดต่อได้ที่ อ.อภิชาติ ครับ

--------------------------------

Interview with Dr. Apichart

บทสัมภาษณ์ ดร.อภิชาติ

คลิ๊กที่นี่ครับ

--------------------------------

Blog ที่นี่ครับ หากท่านต้องการจะโพสต์ข้อมูลที่นี่

ผลงานของ ผศ.ดร.อภิชาติ

บทสัมภาษณ์รายการ "ความรู้สู่ชุมชน" วิทยุเพื่อการศึกษา FM 92 MHz วันที่ 30 มิ.ย. 2548 เวลา 13.30-14.30 น.คลิ๊กที่นี่ (22 Minutes)

เครื่องย้อมพลังงานแสงอาทิตย์ (งานวิจัย) จากหนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 11 สิงหาคม 2548 และจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 26 สิงหาคม 2548 คลิ๊กที่นี่ ชมวีดีโอคลิป จากรายการรู้รักษ์พลังงาน สถานีโทรทัศน์ไอทีวี วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2548 Movie Here

เครื่องผลิตโฟม สำหรับการย้อมที่ใช้น้ำกว่าปกติ (งานวิจัย) ชมวีดิโอคลิป จากรายการรู้รักษ์พลังงาน สถานีโทรทัศน์ไอทีวี วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2548 Movie Here

บทสัมภาษณ์คุณสุนทร ไกรตระกูล กรรมการผู้จัดการบริษัท คาร์เปท เมกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ที่ได้รับคำปรึกษาจาก ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ ภายใต้โครงการ ITAP สวทช. คลิ๊กที่นี่

ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์ การบรรยายเรื่อง "นาโนเทคโนโลยีกับงานสิ่งทอ" Nanotechnology in Textiles V.4.00 ฟรี!

คลิ๊กที่นี่ครับ

----------------------------------

สนใจอยากให้คณะที่ปรึกษา ttcexpert.com เข้าช่วยเหลือธุรกิจ ของท่าน ttcexpert.com สามารถติดต่อได้ที่นี่ โทร. 0 2549 3666 หรือ โทรสาร 0 2549 3665 ครับหรืออยากทำโครงการ... ติดต่อโครงการ ITAP สวทช. ที่ คุณวรรณรพี โทร. 0 2564 7000 ต่อ 1379

 

เขียนติชมได้ที่นี่ครับ! Guest Book

สนใจติดต่อโฆษณาได้ที่

drapichart2006@hotmail.com

ค่าสปอนเซอร์เหล่านี้จะนำมาปรับปรุงเว็บ ให้บริการได้ดีกว่านี้ครับ ขอบคุณครับ

จากใจ ผศ.ดร.อภิชาติ

Asking for your helps, please.

เนื่องจากเว็บไซต์นี้เปิดบริการฟรี ให้กับพวกท่านมาเป็นเวลาเกือบ 4 ปี ถ้าหากท่านต้องการ จะสนับสนุนผม ให้สามารถทำงาน เพื่อสังคม มากกว่านี้ เช่น ช่วยเหลือให้สามารถจัดการสอนออนไลน์ ซื้อหนังสือ ตำราจากต่างประเทศให้ หรือหาผู้ช่วย ในการทำอีเลิร์นนิ่งให้ดีกว่านี้ เป็นต้น เพื่อเราจะร่วมกันทำเว็บนี้ ให้เป็นแหล่งความรู้ ที่ดีแห่งหนึ่ง ให้กับนักศึกษา พนักงาน ครูอาจารย์ และผู้สนใจต่อไปครับ

ขอบพระคุณที่ช่วยสนับสนุนครับ

ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ

ขณะนี้ยังไม่ค่อยมีสปอนเซอร์มาติดต่อเลยนะครับ ขอความช่วยเหลือจากท่านบ้าง ผมต้องเข้ามาตอบตลอด มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นนะครับ อย่างน้อยช่วยซื้อหนังสือบ้างก็ยังดีครับ

ขอบพระคุณในความเห็นใจของทุกท่านครับ

ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ

29-10-48

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งทอจัดให้ตามคำแนะนำของคุณบัณฑิต พงศาโรจนวิทย์ คลิ๊กที่นี่ครับ

-------------------------

Silk : Queen of Fibres - The Concise Story by Assist. Prof. Dr. Apichart Sonthisombat and Dr. Peter T. Speakman (PDF FILE)--> Click here!

---------------------

Technical Textile Useful Links --> Click here!

--------------------------

Nanotechnology Useful Links -->Click here!

--------------------------------------------------

คำนิยามเกี่ยวกับการฟอกย้อมพิมพ์ตกแต่งสิ่งทอ

คลิ๊กที่นี่ครับ

รายชื่อหนังสือใหม่ล่าสุด

- การปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในโรงงาน เล่ม 2 ราคา 300 บาท (หนาประมาณ 300 กว่าหน้าครับ) **

- เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ต เสร็จแล้วครับ ราคา 60 บาท (พิมพ์สี)**

สนใจติดต่อได้ที่ ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ (**ค่าส่งลงทะเบียนอีกประมาณ 20 บาทต่อเล่มครับ)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อยากให้เว็บนี้มีอะไรเพิ่มเติม...กรุณาส่งอีเมล์ หรือโทรมาบอกได้ครับ เราจะพัฒนาไปเรื่อยๆ ให้ดีที่สุดครับ

WEBSTAT for ttcexpert.com

Last updated on 21-08-16

ติดต่อสอบถาม โทร. 0 2549 3666 หรือ โทรสาร 0 2549 3665 หรือที่... e-mail: eng_pub@hotmail.com, en@rmut.ac.th

Assistant Professor Dr. Apichart Sonthisombat

Department of Textile Engineering, Faculty of Engineering, Rajamangala University of Technology Thanyaburi (RMUTT),

Rungsit-Nakornnayok Road, Klong 6. Thanyaburi, Pathumthani, 12110 THAILAND

 

หมายเหตุ ความคิดเห็นที่ปรากฎในเว็บไซต์หรือเว็บบอร์ดนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว ของผู้เขียนมิได้เป็นความเห็นชอบของคณะวิศวกรรมศาสตร์ หรือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี แต่อย่างใด