ขอเชิญฟังเสียง ดร.อภิชาติ ในการให้สัมภาษณ์ รายการ SMEs TODAY FM 101MHz วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2549 เวลา 12.15-12.30 น. ที่นี่ครับ (wav file) ------------------------------ สัมภาษณ์ ผศ.ดร.อภิชาติ เรื่อง โครงการ ITAP สวทช. และเรื่อง การพัฒนาการย้อมในชนบท แนวทาง และอนาคต ที่นี่ครับ ------------------------- ---------------------------------- ท่านสามารถดูตารางธาตุได้ที่นี่ โดยท่านสามารถ ทราบค่าต่างๆได้ อาทิ เป็นธาตุตัวที่เท่าไร ค่าโมเลกุล ความทนต่ออุณหภูมิ ฯลฯ
|
Lesson (Page 3) e-learning in Textile Chemistry --------------------------------------- คำถามน่าสนใจเกี่ยวกับเส้นใย แต่เสียดายต้องตอบ ภายในไม่ถึง 5 ชั่วโมง (Fax มาช่วงเกือบเที่ยง ต้องตอบภายใน 5 โมงเย็น) ดังนี้ครับ ตัวอย่าง Presentation Functional Textiles --> Click Here ดาวน์โหลดไปแล้ว เห็นว่าเนื้อหาดี ก็ขอให้ช่วยกันซื้อ ตำราบ้างครับ (PLEASE) ---------------------------------- หนังสือเล่มใหม่ล่าสุด การนำเอานาโนเทคโนโลยีมาใช้กับงานสิ่งทอ + เทคโนโลยีพลาสมา และเทคโนโลยีอื่นๆ พิมพ์ภาพสี ราคาเล่มละ 250 บาท กำหนดออกจำหน่าย ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2549 สนใจติดต่อ ดร.อภิชาติ -------------------------- ผลงานของ ผศ.ดร.อภิชาติ กับโครงการ iTAP สวทช. บริษัท คาร์เปท เมกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด | หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ 23 พ.ย. 2549 --------------------------------------------------
KM | PAGE 1 | PAGE 2 | PAGE 3 | PAGE 4 การย้อมการทำให้วัสดุสิ่งทอติดสีสม่ำเสมอทั่วทั้งผืน (ยกเว้นการทำผ้าบาติก และผ้ามัดย้อม) การจำแนกสีย้อมมีหลายวิธี เช่น- การจำแนกตามประจุ เช่น ประจุบวก ประจุลบ และไม่มีประจุ กระบวนการทำให้วัสดุสิ่งทอติดสี ทำได้หลายช่วงดังต่อไปนี้ 1 การย้อมเส้นใยสังเคราะห์ในช่วงเวลาที่เป็นของเหลว 2 การย้อมเส้นใย 3 การย้อมเส้นใยลักษณะ Top 4 การย้อมเส้นด้าย 5 การย้อมผืนผ้า 6 การย้อมเสื้อผ้าสำเร็จรูป ทฤษฏีการย้อมสีบนวัสดุสิ่งทอ 1. ทฤษฏี Pore Model 2. ทฤษฎี Free Volume Model สีไดเร็กซ์ (ย้อมเส้นใยเซลลูโลส (พืช)) เป็นสีที่ย้อมได้ง่ายที่สุดตัวหนึ่งสำหรับสีที่มีอยู่ในโลกนี้ เพราะว่าสีสามารถ ละลายน้ำได้ดี ทั้งเพียงแค่เติมเกลือ Glauber's salt (เกลือโซเดียมซัลเฟต) เท่านั้น เพื่อช่วย ลดประจุลบที่มีอยู่บนเส้นใยให้น้อยลง แล้วทำให้สีย้อม สามารถจะเกิดพันธะกับเส้นใยได้ ดังนั้นสีตัวนี้ค่อนข้างจะไม่คงทนต่อการซักล้างเท่าที่ควร สีรีแอคทีฟ (ย้อมเส้นใยเซลลูโลส (พืช)) สีหมู่นี้ จะมีหมู่ที่ว่องไวต่อการเกิดปฎิกริยาทางเคมีเกิดพันธะโควาเลนท์ (Covalent Bonding) กับเส้นใยเซลลูโลส เมื่ออยู่ในสภาวะด่าง ดังนั้นสีจึงมีความคงทนต่อการซัก มากกว่าสีไดเร็กซ์ สีวัต (ย้อมเส้นใยเซลลูโลส (พืช)) เป็นสีที่เก่าแก่ที่สุดตัวหนึ่งที่รู้จักกันดี ชาวอินเดียรู้จักใช้สีอินดิโก ตั้งแต่สมัยเริ่มบันทึก ประวัติศาสตร์ คำว่า "Vat" เนื่องมาจากการย้อมสีในกลุ่มนี้ทั้งหมดจะย้อมวิธีเดียวกับสีอินดิโกที่ใช้ในสมัยโบราณกล่าว คือ การนำต้นครามมาหมัก ในถังไม้รวมกับด่างจนกระทั่งเดือดฟูถังไม้นี้ในภาษาอังกฤษเรียกว่า VAT แยกน้ำสีออกไปเหลือก็จะเติมเนื้อไม้ใหม่ ต่อไปอีก การทำเช่นนี้เรียกว่า การ Vatting เป็นกระบวนการที่ต้องปฏิบัติเหมือนกับเมื่อเราใช้สีวัตสังเคราะห์ สีแอโซอิค (ย้อมเส้นใยเซลลูโลส (พืช)) สีที่ไม่ละลายน้ำบนเส้นใยเซลลูโลส เทอมของ "AZOIC" ถูกนำมาใช้ในการย้อม และการพิมพ์ โดยการใช้ การสังเคราะห์สารประกอบเอโซ (Azo) แทรกซึมในเส้นใย ด้วยปฎิกริยากับ สารประกอบ Coupling และ Diazonium Salt สีจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับสีวัต สีซัลเฟอร์ และสีรีแอคทีฟ สีซัลเฟอร์ (ย้อมเส้นใยเซลลูโลส (พืช)) สมบัติที่สำคัญของสีซัลเฟอร์ จะสามารถดูดซึมได้โดยใช้สารประกอบลิวโคที่อยู่ในสภาวะด่าง (Alkali-soluble Leuco) และสามารถเปลี่ยนรูปเป็นสารประกอบที่ไม่ละลายน้ำภายในเส้นใยโดยปฎิกิริยาออกซิเดชั่น ดังนั้นสีซัลเฟอร์จะเหมือน กับสีวัต ทั้งในด้านการย้อมแต่ความสดใส และความคงทนต่างๆ ของสีไม่ดีนัก โดยเฉพาะการทำปฏิกิริยาด้วยสารเคมี เช่น การฟอกขาว เป็นต้น สีดิสเพิร์ส (ย้อมเส้นใยสังเคราะห์ เช่น พอลิเอสเตอร์ อะซิเตด ไตรอะซิเตด เป็นต้น) ได้รับการตั้งชื่อนี้เพราะว่ามีการละลายในน้ำย้อมน้อยมาก และการย้อมจะใช้ในรูปการกระจายตัว (Dispersion) ซึ่งในรูปนี้สามารถทำให้เส้นใยดูดซึมได้ สีแอซิด (ย้อมเส้นใยขนสัตว์ ไหม ไนล่อน) เนื่องจากสีกลุ่มนี้ต้องย้อมในน้ำย้อมที่มีสภาวะเป็นกรด จะเป็นกรดชนิดใดก็ได้ เพราะเหตุนี้สีกลุ่มนี้เกือบทุกตัวเป็นเกลือ โซเดียมของกรดอินทรีย์มีประจุลบ (Anionic) ในส่วนประกอบที่ให้ สีปกติจะเป็นเกลือของกรดซัลโฟนิกมีบ้างที่เป็น เกลือของกรดคาร์บอกซิลิก จึงเรียกสีเหล่านี้ว่าสีแอซิด (ACID) สีพรีเมทัลไลซ์ (หรือที่เรียกว่าสีเมทัลคอมเพล็กซ์) สีกลุ่มนี้ใช้กับไนล่อนเมื่อต้องการความทนทานต่อการซักและต่อแสงที่ดีเยี่ยม สำหรับการนำไปใช้งานในรถยนต์ เครื่องเฟอร์นิเจอร์ แต่ข้อเสียคือเฉดสีที่มีเป็นเฉดสีที่ทึมๆ ไม่สามารถทำให้เป็นสีที่สดใสได้ และอีกประการหนึ่ง คือสีกลุ่มนี้มีโมเลกุลที่ค่อนข้างใหญ่ดังนั้นการปกปิดลายน้ำบนผ้าไม่ดี พึงระลึกว่าสีกลุ่มนี้จะไม่เคลื่อนตัว หรือกระจายตัว ไม่ว่าจะต้มเดือดนานเท่าใดก็ตาม ข้อสำคัญจะต้องทำให้สีติดบนเส้นใยไนล่อนให้สม่ำเสมอในครั้งแรกก่อน มิฉะนั้น สีจะด่างได้ง่ายสีมอร์แดนท์ สีมอร์แดนท์ นี้มีโครงสร้างเหมือนสีแอซิด มากเพียงแต่จะมีกลุ่มเคมีซึ่งสามารถ เชื่อมโยงกับโครเมียมเป็นสารประกอบ Co-ordinated ที่ถาวรได้สารประกอบ Co-ordinated ใหม่นี้ดูดแสงที่มีความยาวกว่า ดังนั้นฮิวจะเปลี่ยนไปตั้งแต่ สีแดง น้ำเงิน ยังผลทำให้ ความคงทนต่อการซักและแสงดีขึ้น สีมอร์แดนท์ มีคุณสมบัติการย้อมแบบเดียวกันกับสีแอซิด แต่จะ ใช้เป็นสีแอซิด ไม่ได้ เพราะว่าถ้ายังไม่ได้ทำปฎิกริยากับโครเมียม สีจะไม่คงทนต่อด่าง Hue เปลื่ยนไปได้เมื่อถูกด่าง สีเบสิก (ย้อมเส้นใยอะไครลิก) สมบัติของสีนี้มีความชอบกับฝ้ายที่ Tanning Mordant และเส้นใยอะไครลิก บางทีถูกเรียกว่าสีแคทไอออนิก (Cationic) เพราะสีเบสิกเมื่อแตกตัวในน้ำจะให้สีที่มีประจุบวก (+) ซึ่งจะมี Substantivity โดยตรงกับขนสัตว์และไหม แต่ในอุตสาหกรรมใช้สีเบสิก ปัจจุบันสามารถย้อมบนเส้นใยอะไคลิก เพราะเส้นใยจะมีตำแหน่งที่สามารถรับสีได้ เนื่องจากอุณหภูมิ ต่ำกว่าจุด Glass Transition (Tg) ของเส้นใย (70oC) เส้นใยจะยังไม่สามารถรับสีได้ ที่อุณหภูมิสูง การดูดซึมได้รวดเร็ว อย่างไรก็ตามสีแพร่ในเส้นใยอย่างช้าๆ แต่อัตราการเคลื่อนตัวของสี (Migration) ที่อุณหภูมิสูง (100oC) จะน้อย การควบคุมค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) อัตราการเพิ่มของอุณหภูมิ และการใช้สารหน่วงการย้อม (Retarding Agent) ซึ่ง สารหน่วงการย้อมจะใช้เฉพาะการย้อมเฉดสีอ่อนๆ (Pale Shade) ปัญหานี้เกิดกับ สีเข้มตามปริมาณจำกัดของการเก็บสี (Dye Uptake) ของเส้นใยอะไคลิกหลายชนิด และด้วยสีเฉพาะ สีปิ๊กเม้นท์ ใช้งานในรูปไม่ละลายน้ำ (Micro หรือ Crystal Particle) ร่วมกับตัวกลาง ที่ใช้ในงานพิมพ์ การพิมพ์ คือ การทำให้วัสดุสิ่งทอเกิดสีเฉพาะจุด และเกิดได้หลายสีตามแต่เราต้องการ ชนิดของผ้า และสีที่ใช้พิมพ์ สีรีแอคทีฟ เป็นสีที่สามารถละลายน้ำได้ เช่นเดียวกับการย้อมสี สีนี้จะต้องใช้ด่างในการทำให้สีเกิดพันธะโควาเลนท์กับผ้า และสามารถพิมพ์บนผ้าใยเซลลูโลส สีปิ๊กเม้นท์ เป็นสีที่ไม่ละลายน้ำ สามารถติดบนผ้าได้เมื่อใช้กับระบบสารยึดติด (Binder System) ซึ่งสารดังกล่าว จะเป็นตัวเชื่อมพันธะระหว่างสีกับสารยึดติด และสารยึดติดกับเส้นใย ดังนั้นสามารถพิมพ์ได้กับทุกเส้นใย แต่จะต้อง เลือกสารยึดติดที่เหมาะสมกับเส้นใยสีวัต เป็นสีที่ไม่ละลายน้ำ จะละลายก็ต่อเมื่อถูกรีดิวซ์ ด้วยสารรีดิวซิ่ง (Reducing Agent) เช่น ไฮดรอส เป็นต้น ในสภาวะที่เป็นด่าง สีนี้สามารถพิมพ์บนผ้าใยเซลลูโลส สีดิสเพิร์ส เป็นสีที่ละลายน้ำได้น้อยมาก มีความสามารถในการติดเส้นใย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นใยสังเคราะห์ แต่เมื่อพิมพ์เสร็จจะต้องผนึกสีที่อุณหภูมิสูงประมาณ 150-200oC ซึ่งค่อนข้างจะสิ้นเปลืองพลังงาน ที่มาจาก หนังสือกระบวนการทางเคมีสิ่งทอ ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ ------------------------------------------------------ |
วีดีโอซีดี เรื่อง "นาโนเทคโนโลยีสำหรับงานสิ่งทอ" เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง "การทำความสะอาดสิ่งทอ" การจัดทำกิจกรรม 5ส และการจัดทำระบบคุณภาพ ISO 9001:2000 |
ผลงาน ผศ.ศุภวิทย์ ลวณะสกล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เรื่อง แก๊สซิไฟเออร์ คลิ๊กดู VDO ที่นี่ครับ (พลังงานทดแทนน้ำมัน!!!) |
หนังสือรวมสุดยอดเว็บไซต์สิ่งทอทั่วโลก Hot Textile Websites เล่มใหม่ เหมาะสำหรับ ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ นักศึกษา ผู้สนใจด้านสิ่งทอ ราคา 150 บาท สนใจติดต่อ...คุณสว่างจิตต์ หรือคุณกนกวรรณ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ โทร. 0 2713 5492-9 |
โครงการความร่วมมือในอนาคต เร็วๆ นี้จะมีข่าวดีสำหรับโครงการความร่วมมือครับ ระหว่างมหาวิทยาลัย Leeds ประเทศอังกฤษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ โครงการ ITAP สวทช. ประเทศไทย อดใจรอสักนิดครับ ดูรายชื่อหนังสือทั้งหมด (30 เล่ม) ที่นี่ครับ |
การสัมมนา เรื่อง สุดยอดการจัดการสิ่งทอ : เทคโนโลยีสะอาด ทำกำไรได้จริงหรือ? ในวันที่ 26-27 พ.ค. 2548 ถ้าท่านต้องการหนังสือประกอบการสัมมนา สามารถติดต่อได้ที่ อ.อภิชาติ ครับ -------------------------------- Interview with Dr. Apichart บทสัมภาษณ์ ดร.อภิชาติ -------------------------------- Blog ที่นี่ครับ หากท่านต้องการจะโพสต์ข้อมูลที่นี่ |
ผลงานของ ผศ.ดร.อภิชาติ บทสัมภาษณ์รายการ "ความรู้สู่ชุมชน" วิทยุเพื่อการศึกษา FM 92 MHz วันที่ 30 มิ.ย. 2548 เวลา 13.30-14.30 น.คลิ๊กที่นี่ (22 Minutes) เครื่องย้อมพลังงานแสงอาทิตย์ (งานวิจัย) จากหนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 11 สิงหาคม 2548 และจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 26 สิงหาคม 2548 คลิ๊กที่นี่ ชมวีดีโอคลิป จากรายการรู้รักษ์พลังงาน สถานีโทรทัศน์ไอทีวี วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2548 Movie Here เครื่องผลิตโฟม สำหรับการย้อมที่ใช้น้ำกว่าปกติ (งานวิจัย) ชมวีดิโอคลิป จากรายการรู้รักษ์พลังงาน สถานีโทรทัศน์ไอทีวี วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2548 Movie Here |
บทสัมภาษณ์คุณสุนทร ไกรตระกูล กรรมการผู้จัดการบริษัท คาร์เปท เมกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ที่ได้รับคำปรึกษาจาก ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ ภายใต้โครงการ ITAP สวทช. คลิ๊กที่นี่
|
ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์ การบรรยายเรื่อง "นาโนเทคโนโลยีกับงานสิ่งทอ" Nanotechnology in Textiles V.4.00 ฟรี! ---------------------------------- สนใจอยากให้คณะที่ปรึกษา ttcexpert.com เข้าช่วยเหลือธุรกิจ ของท่าน ttcexpert.com สามารถติดต่อได้ที่นี่ โทร. 0 2549 3666 หรือ โทรสาร 0 2549 3665 ครับหรืออยากทำโครงการ... ติดต่อโครงการ ITAP สวทช. ที่ คุณวรรณรพี โทร. 0 2564 7000 ต่อ 1379 |
เขียนติชมได้ที่นี่ครับ! Guest Book
|
จากใจ ผศ.ดร.อภิชาติ Asking for your helps, please. เนื่องจากเว็บไซต์นี้เปิดบริการฟรี ให้กับพวกท่านมาเป็นเวลาเกือบ 4 ปี ถ้าหากท่านต้องการ จะสนับสนุนผม ให้สามารถทำงาน เพื่อสังคม มากกว่านี้ เช่น ช่วยเหลือให้สามารถจัดการสอนออนไลน์ ซื้อหนังสือ ตำราจากต่างประเทศให้ หรือหาผู้ช่วย ในการทำอีเลิร์นนิ่งให้ดีกว่านี้ เป็นต้น เพื่อเราจะร่วมกันทำเว็บนี้ ให้เป็นแหล่งความรู้ ที่ดีแห่งหนึ่ง ให้กับนักศึกษา พนักงาน ครูอาจารย์ และผู้สนใจต่อไปครับ ขอบพระคุณที่ช่วยสนับสนุนครับ ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ ขณะนี้ยังไม่ค่อยมีสปอนเซอร์มาติดต่อเลยนะครับ ขอความช่วยเหลือจากท่านบ้าง ผมต้องเข้ามาตอบตลอด มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นนะครับ อย่างน้อยช่วยซื้อหนังสือบ้างก็ยังดีครับ ขอบพระคุณในความเห็นใจของทุกท่านครับ ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ 29-10-48 |
|
รายชื่อหนังสือใหม่ล่าสุด - การปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในโรงงาน เล่ม 2 ราคา 300 บาท (หนาประมาณ 300 กว่าหน้าครับ) ** - เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ต เสร็จแล้วครับ ราคา 60 บาท (พิมพ์สี)** สนใจติดต่อได้ที่ ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ (**ค่าส่งลงทะเบียนอีกประมาณ 20 บาทต่อเล่มครับ)
|
อยากให้เว็บนี้มีอะไรเพิ่มเติม...กรุณาส่งอีเมล์ หรือโทรมาบอกได้ครับ เราจะพัฒนาไปเรื่อยๆ ให้ดีที่สุดครับ Last updated on 21-08-16 |
ติดต่อสอบถาม โทร. 0 2549 3666 หรือ โทรสาร 0 2549 3665 หรือที่... e-mail: eng_pub@hotmail.com, en@rmut.ac.th Assistant Professor Dr. Apichart Sonthisombat Department of Textile Engineering, Faculty of Engineering, Rajamangala University of Technology Thanyaburi (RMUTT), Rungsit-Nakornnayok Road, Klong 6. Thanyaburi, Pathumthani, 12110 THAILAND |
|
หมายเหตุ ความคิดเห็นที่ปรากฎในเว็บไซต์หรือเว็บบอร์ดนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว ของผู้เขียนมิได้เป็นความเห็นชอบของคณะวิศวกรรมศาสตร์ หรือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี แต่อย่างใด